วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดบทที่ 4


คำถามท้ายบทที่ 4
1. จงอธิบายความสัมพันธ์ของระบบประมวลผลธุรกรรม และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
= มีความสัมพันธ์กันเนื่องจากระบบประมวลผลธุรกรรมหรือทีพีเอส คือ จุดขององค์ประกอบต่างๆ เช่น บุคลากร กระบวนการเป็นต้นซึ่งระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหรือ เอ็มไอเอส คือระบบที่ใช้สนับสนุนการทำงานของผู้จัดการระดับล่า ระดับกลางเพื่อนำเสนอรายงาน เป็นต้น ซึ่งทั้งสองระบบนี้จะทำการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกรวมกัน
2. จงยกตัวอย่าง องค์ประกอบด้านการพัฒนากลยุทธ์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
            = นำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดจำเป็นต้องมีการวางแผนหรือการนำกลยุทธ์ต่างๆมาใช้ในการโฆษณาเป็นต้น
3. หากท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านห้องแล็บของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ท่านจะพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีทางการจัดการประเภทใด เพราะเหตุใด
            = ระบบผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากเป็นระบบที่มีโครงสร้างทางการจัดการที่ดีเหมาะสำหรับที่จะนำมาใช้ในโรงพยาบาลเพราะถ้าหากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบนี้เกิดตายไประบบก็ยังสามารถใช้ได้ตามปกติ อีกทั้งยังใช้ในด้านการติดตาม งานระบบที่ซับซ้อนได้และสามารถพัฒนาแผนการตลากสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อีกด้วย
4. ระบบสารสนเทศประเภทใดที่จัดเป็นระบบสารสนเทศระดับสูง ซึ่งมีการนำข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาใช้เพื่อการประมวลผลสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
            = ระบบสนับสนุนผู้บริหาร
5. จงจำแนกประเภทของระบบสารสนเทศทางธุรกิจของธุรกิจโทรคมนาคม
            = 1. การรับส่งข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีแบบ Packet – switched
            2. บริการโทรสาร
            3. บริการเปลี่ยนรหัสหรือรูปแบบข้อมูลเป็นต้น
6. เพราะเหตุใด ธุรกิจจึงต้องมีการพัฒนาด้านระบบสารสนเทศตามยุคสมัย
            = เนื่องจากในปัจจุบันมีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเป็นจำนวนมากมนุษย์ล้วนแล้วแต่หาสิ่งที่นำพาความสะดวดสบายมาใช้ในชีวิตประจำวันเปรียบได้เสมือนกับธุรกิจที่จะต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอเพื่อที่จะได้นำสินค้าหรือบริการออกมาจำหน่ายให้ตรงกับความต้องการของลูกค่อยู่เสมอ
7. การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ มักจะมีความเกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์และการพาณิชย์เคลื่อนที่อย่างไร จงอธิบาย
            = มีความเกี่ยวข้องกันคือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ คือ การนะเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารให้มีความถูกต้องแลแม่นยำขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจทางด้านไหนก็ตามซึ่งมีลักษณะที่คล้ายกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการพาณิชย์เคลื่อนที่นั่นเอง เนื่องจากทั้งสองอย่างนี้ก็เป็นการทำธุรกรรมด้านต่างๆโดยอาศัยระบบสารสนเทศมาช่วยในการทำธุรกิจเช่นกัน
8. บทบาทของผู้บริหารด้านข้อมูลข่าวสารและด้านการตัดสินใจมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
            = มีความสัมพันธ์กันเนื่องจากในกรณีที่ผู้บริหารเกิดความต้องการตัดสินใจเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นจะทำการตัดสินใจเลยไม่ได้จะต้องทำการศึกษาข้อมูลนั้นก่อนที่ทำการตัดสินใจ
9. เทคโนโลยีความจริงเสมือนมักถูกนำมาใช้กับงานด้านใดบ้าง
            = มีการฝึกอบรมในหลายสาขา เช่น การทหาร การแพทย์ การศึกษา การประเมิน การออกแบบ การศึกษาด้านเฮอร์โกโมฟิกส์ เป็นต้น
10. เพราะเหตุใดกลุ่มผู้ตัดสินใจของระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มจึงเกิดความเป็นอิสระและกล้าแสดงความคิดเห็นโดยไม่หวั่นเกรงข้อโต้แย้งใดๆ
            = เนื่องจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มได้นำโปรแกรม จีดีเอสมาใช้ในการประชุมโดยที่ไม่ต้องระบุชื่อ ดังนั้นโปรแกรมนี้จึงช่วยให้ผู้นำข้อมูลเกิดความเชื่อมั่นในความเหมาะสมของการประเมิน









แบบฝึกหัดบทที่ 1

แบบฝึกหัดบทที่ 1
1.จงเปรียบเทียบข้อแตกต่างของข้อมูลและสารสนเทศมาพอเข้าใจ
ตอบ ข้อมูลคือการพรรณนา ถึงสิ่งของ เหตูการณ์ กิจกรรมและธุรกรรม ซึ่งดูบันทึก จำแนกและจัดเก็บไว้ภายในแหล่งข้อมูลแต่ยังไม่มีการจัดโครงสร้างเพื่อถ่ายโอนไปยังสถานที่เฉพาะเจาะจงโดยข้อมูลอาจอยู่ในรูปตัวอักษร รูปภาพหรือเสียงก็ได้
            สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ถูกจัดโครงสร้างให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและมีค่าต่อผู้รับ โยมีการนำข้อมูลผ่านกระบวนการประมวลผลและจัดให้อยู่ในรูปแบบที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน อีกทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการตัดสินใจได้ เช่นผลการเรียนเฉลี่ย(GPA)ของนักเรียน

2.การจัดแบ่งหน้าที่งานทางธุรกิจมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างองค์การอย่างไร
ตอบ การดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่จะดำเนินตามโครงสร้างของธุรกิจที่สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์การโดยมีการปฏิบัติตามกิจกรรมการดำเนินงานของหน่วยงานที่มีส่วนช่วยให้บรรลุวัตถุประสงขององค์การ เพื่อให้เข้าใจรูปแบบของการจำแนกความแตกต่างของภาระงาน อำนาจหน้าที่รวมทั้งการรายงานภาระรับผิดชอบการจัดแบ่งหน้าที่งานทางธุรกิจจึงมีความสัมพันธ์จึงก่อให้เกิดโครงสร้างองค์การ

3.การลงทุนเพื่อจัดตั้งธุรกิจใหม่จะต้องดำเนินตามขั้นตอนอย่างไร
ตอบ กิจกรรมที่1การจัดหาวัตถุดิบ สินค้าหรือทรัพยากรอื่นๆเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
กิจกรรมที่2การใช้ทรัพยากรเพื่อผลิตสินค้าและบริการนั้นๆ
กิจกรรมที่3การขายตลอดจนการจัดจำหน่ายสินค้าและการบริการลูกค้าสรุปได้ว่าธุรกิจจะต้องมีการจัดตั้งธุรกิจและนำเงินมาลงทุนหรืออาจกู้ยืมเงินมาใช้สำหรับจัดหาการจัดหาทรัพยากรทางธุรกิจซึ่งใช้สำหรับกิจกรรมการดำเนินงานทั้ง3กิจกรรมข้างต้น


4. จงเปรียบเทียบการประยุกต์ ใช้ข้อมูลของระดับปฎิบัติการและระดับบริหาร
ตอบ    ระดับปฎิบัติการ  คือ    การใช้ข้อมูลของธุรกิจภายใต้ระดับปฎิบัติการเปรียบเสมือนกระจกเงา
ที่คอยสอดส่องดูแลงานด้านต่างๆ เช่น  การประมวลผล การบันทึก  และรายงานเหตุการณ์ทางธุรกิจ
            ระดับบริหาร  คือ  กระบวนการสารสนเทศจะเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนกิจกรรมด้านการจัดการ  ตลอดจนการตัดสินใจโดยสามารถจำแนกวิธีการที่ผู้จัการหรือผู้บริหารนิยมใช้ประโยนช์จากสารสนเทศทางธุรกิจ ดังนี้           วิธีที่  ใช้ติดตามการปฎิบัติงานในปัจุบัน
                         วิธีที่  ใช้สร้างความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท

5.  ผู้บริหารของบริษัทได้รับทราบงบการเงิน  ในช่วงเวลาที่ต้องการตัดสินใจแต่ข้อมูลในงบการเงินนั้นมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย  จะมีผลต่อมูลค่าของสารสนเทศ ที่ผู้บริหารได้รับอย่างไร
ตอบ   ข้อมูลของสารสนเทศและมูลค่าของสารสนเทศนั้นขาดความน่าเชื่อถือ และขาดประสิทธิภาพ

6. กรณีที่ผู้บริหารในระดับควบคุมปฎิบัติการ ได้รับสารสนเทศที่มีรายละเอียดไม่พอต่อการตัดสินใจ อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไร
ตอบ  ทำให้เกิดการลังเลใจในการตัดสินใจ เกิดการล่าช้าในการตัดสินใจอาจก่อให้เกิดการเสียโอกาส และอาจทำให้เสียลูกค้า

7.  การสั่งการของผู้บริหารระดับสูง ในเรื่องนโยบายเงินปันผลต่อผู้บริหารระดับกลางให้ควบคุมการจ่ายเงินปันผลแก่พนักงานทุกคนถือเป็นสายงานด้านสารสนเทศในลักษณะใด
ตอบ  เป็นสายงานด้านสารสนเทศในแนวนอน ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มผู้ที่มมีส่วนได้เสีย

8.  ยกตัวอย่างโครงสร้างกระบวนการทางธุรกิจของบริษัทบริการโทรศัพท์มือถือ
ตอบ  โครงสร้างธุรกิจมือถือ มีรายละเอียดดังนี้
1.    กระบวนการปฎิบัติการ
2.    กระบวนการจัดการ
3.    กระบวนการสารสนเทศ


9.  องค์การดิจิทัลมีความแตกต่างกับองค์การธุรกิจทั่วไปอย่างไร
ตอบ  องค์การดิจิทัลจะเป็นการทำงานที่หลากหลายมิติ  โดยอาศัยความสามารถของดิจิทัลซึ่งจะแตกต่างกันองค์กาธุรกิจทั่วไป คือ องค์การธุรกิจทั่วไปจะอาศัยเพียงแค่คนเข้ามาทำงานและทำงานได้ช้ากว่าองค์การดิจิทัล  ความถูกต้อง แม่นยำน้อยกว่า


10.  องค์การควรดำเนินการอย่างไรเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข็งขันทางธุรกิจ
ตอบ  ต้องมีการกำหนดวิธีโต้ตอบ  วิธี คือ
1.    การจัดการเชิงกลยุทธ์
2.    จุดศูนย์รวมลูกค้า
3.    การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
4.    การปรับกระบวนการทางธุรกิจ
5.    นวัตกรรมการผลิตตามคำสั่ง และการผลิตแบบสั่งทำในปริมาณมาก
6.    ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และอิคอมเฟิร์ช
7.    พันธมิตรทางธุรกิจ




บทความที่ 10


บทความที่ 10
Supply Chain Best Practice กลยุทธ์องค์กร 
การที่จะนำระบบ Logistics - Supply Chain ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงในภาคธุรกิจ จะต้องจัดทำแผนกลยุทธ์ในการนำระบบการจัดการโซ่อุปทานโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศ ที่เรียกว่า "Best Practice Strategy Plan" ไปใช้ในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยต้องตั้งเป้าหมายให้สามารถแข่งขันได้ในระดับการค้า สากล รวมถึง การนำการจัดการ Supply Practice ไปใช้ในการลดต้นทุนโลจิสติกส์อย่างเป็นระบบและมีดรรชนีชี้วัด (KPI) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ทางโลจิสติกส์
โดยเฉพาะผู้บริหารหรือผู้ประกอบการกิจการ SMEs ซึ่งอยู่ในส่วนต่างจังหวัด (หรือในส่วนกลาง) ควรเร่งศึกษาทำความเข้าใจเป็นการช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจ ในยุคเศรษฐกิจใหม่ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานออกไปสู่ระดับโลก (Global Supply Chain) โดยธุรกิจที่เป็นแกน (Business Core) จะมีความเป็นไปได้มากกว่าในการที่จะเป็นแกนนำในการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรธุรกิจ โดยกระบวนการในการนำระบบ Supply Chain Best Practice เข้ามาใช้ในธุรกิจ อาจประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
ประการแรก ธุรกิจที่เป็นแกนนำจะต้องมีการปรับปรุงองค์กรภายใน ให้แต่ละหน่วยงานมีการนำระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์เข้ามาใช้ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ การเคลื่อนย้ายสินค้า การจัดเก็บสินค้า การขนส่งและการกระจายสินค้า
ประการที่สอง สำหรับการบริหารเครือข่ายของซัพพลายเออร์ อาจเลือกคู่ค้าซึ่งมีความพร้อมหรือคู่ค้าที่มีตัวเลขการซื้อสินค้าในระยะเริ่มแรก แผนกจัดซื้อจะมีส่วนสำคัญในการผลักดันในการรวมกลุ่มซัพพลายเออร์เข้ามาไว้ในเครือข่าย
ประการที่สาม ให้มีการจัดตั้งแผนก Customer Service ทั้งในบริษัทและกับคู่ค้า โดยให้ความรู้และความ เข้าใจกับพนักงานซึ่งทำหน้าที่เป็น Customer Service ให้มีการประสานความร่วมมือ ภายใต้วัตถุประสงค์รวมกันในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน และการลดต้นทุนโลจิสติกส์ร่วมกัน
ประการที่สี่ ในแต่ละองค์กรทั้งภายในและภายนอกองค์กรให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศเพื่อลดต้นทุนสินค้าคงคลังและต้นทุนการเคลื่อนย้ายสินค้าและการส่งมอบสินค้าให้เป็นเครือข่ายทางธุรกิจร่วมกัน (Collaborate Business Network)
ประการที่ห้า จะต้องทำเป็นแผนงานในลักษณะเป็นแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Plan) โดยมีเป้าหมายตัวชี้ วัด กรอบเวลาที่ชัดเจน รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นให้เพียงพอ เช่น บุคลากร งบประมาณเพื่อให้ สามารถขับเคลื่อนประสิทธิผลของการดำเนินงานในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน สร้างความได้เปรียบ เพิ่มกำไร ลดต้นทุน เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ทุกธุรกิจในเครือข่าย ซึ่งได้มีการวมกลุ่มเป็นห่วงโซ่ อุปทานเดียวกัน

เป็นที่ทราบดีว่า การค้ายุคปัจจุบันเป็นโลกในยุคของการเปลี่ยนแปลง (World of Chang Era) โดยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งเทคโนโลยี โดยเฉพาะ Information Technology ซึ่งส่งผลกระทบให้โลกเป็นหนึ่งเดียว ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งหมดนี้ มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีทางเลือกสินค้าและบริการที่ ราคาถูกในคุณภาพที่ดีที่สุด ซึ่งผู้ประกอบการหรือผู้บริหารในภาคธุรกิจจะต้องมีกระบวนทัศน์ในการดำเนิน ธุรกิจในยุค Globalization โดยการนำกระบวนการโซ่อุปทานที่เป็นเลิศมาใช้เป็นกลยุทธ์ในองค์กร เพื่อเป็นการเพิ่ม Productivity และเป็นการสร้าง Product Differentiate ที่แตกต่างไปจากคู่แข่งขัน โดยมุ่งไปสู่การขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้ความต้องการของตลาด Demand Driven คือยึด Customers เป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะ

ก่อให้เกิดความพึงพอใจของลูกค้า ทั้งที่เกิดจากการลดต้นทุนรวมกันและเชื่อมั่น (Reliability) จากการส่งมอบที่เป็น Just in Time โดยทุกธุรกิจในโซ่อุปทาน จะต้องมีกระบวนการในการปรับระบบการผลิตไปสู่ระบบ Lean Production เป็นการผลิต โดยให้มีสินค้าคงคลังน้อยที่สุด โดยเปลี่ยนการผลิตจาก Production Base เป็น Consumption Base คือเป็นการผลิตเพื่อ ผู้บริโภค และปรับมาใช้ระบบการผลิตและบริหารแบบใช้ Speed-Based Competition คือใช้ การแข่งขันโดยอาศัยความรวดเร็วในการเคลื่อนย้ายในทุกกระบวนการของ Supply Chain ซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพของ SMEs ให้แข่งขันกับบริษัทข้ามชาติ หรือบริษัทขนาดใหญ่ การที่นำระบบโซ่อุปทานที่เป็นเลิศ (Best Practice) มาใช้จะส่งผลให้ทุกธุรกิจที่อยู่ในกระบวนการ Supply Chain ล้วนแต่ได้ประโยชน์ทั้งสิ้น
                  ก่อให้เกิดการสร้างคุณค่าจากการบริการและมูลค่าเพิ่มจากตัวสินค้า ที่เรียกว่า Value Creation & Value Added ประกอบด้วย Real Perfect มุ่งเน้นความสมบูรณ์แบบไม่มีที่ติเพื่อให้เกิดการพึงพอใจจากลูกค้า Non Defect Systematic ขจัดความบกพร่องอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิด Best Practice Organization รวมทั้ง สร้างความแตกต่างที่ลอกเลียนแบบได้ยาก เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน\ นอกเหนือจากนี้ "Surplus Utility" หรืออรรถประโยชน์ ส่วนเกิน เพื่อให้องค์กรเพิ่มขีดความสามารถอย่างยั่งยืน (Sustainable Business)
      การนำระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานโลจิสติกส์ไปใช้ในลักษณะที่เป็น Best Practice จะส่งผลให้ความร่วมมือแบบพันธมิตรในองค์กรกลายเป็น Value Creation Chain คือสร้างโซ่แห่งคุณค่าให้กับลูกค้า โดยแนววิธีในการสร้างโซ่แห่งคุณค่านั้น สิ่งที่ส่งมอบให้กับลูกค้าจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดหรือความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าทั้งในรูปการบริการและระดับราคาที่เหมาะสม โดยมีการวิเคราะห์กระบวนการอย่างเป็นระบบ เพื่อระบุกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า หรือการให้บริการ และจำแนกระหว่างกิจกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่ม กับกิจกรรมที่ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่ม (ในมุมมองของลูกค้าไม่ใช่ของบริษัทฯ) เพื่อให้แต่ละกิจการสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุด จึงต้องดำเนินการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลต่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยปัจจัยที่จะส่งผลต่อระบบปฏิบัติ "Best Practice" ไปใช้ให้ประสบความสำเร็จ โดยฝ่ายจัดการต้องมีความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงใน การนำระบบปฏิบัติการ Best Practice ไปใช้ให้เกิดผลตามเป้าหมาย โดยจัดให้มีระบบการสนับสนุนและปฏิรูปโครงสร้างองค์กร (Organization Structure) ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ Best Practice โดย  เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคลและให้ความสำคัญต่อสถานภาพแวดล้อมขององค์กร  (Understanding the Corporate Environment) รวมถึงกำหนดปัจจัยที่ต้องใช้เพื่อให้ระบบปฏิบัติการเป็นเลิศสามารถปฏิบัติได้โดยไม่มีอุปสรรค โดยการจัดทำดัชนีชี้วัดเพื่อค้นหาสาเหตุที่ระบบปฏิบัติการของห่วง โซ่อุปทานขององค์กรจึงประสบความล้มเหลว   การประยุกต์ใช้ห่วงโซ่อุปทานซึ่งเป็นเลิศในธุรกิจ (Supply Chain Best Practice) มีขั้นตอนการนำมาใช้เป็นแผนยุทธศาสตร์ (Strategy Plan) ขององค์กร  ประกอบด้วยกิจกรรมการวางแผนและการควบคุม การไหลลื่นของวัตถุดิบ จากผู้จัดส่งวัตถุดิบ (Supplier Flow) ไปยังผู้ผลิตและการกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งเชิงต้นทุนและเวลา กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัตถุดิบและสินค้า โดยลักษณะเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าที่เป็น Demand Pull ซึ่งการกระทำดังกล่าวได้จะต้องจัดให้มีการแข่งขัน ข้อมูลสารสนเทศโลจิสติกส์ระหว่างคู่ค้ากับผู้ผลิต ซึ่งมีระบบการจัดการผลิตแบบ Economies of Speed และการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างทันเวลา แบบที่เรียกว่า Real Time Distribution การวางแผนการตลาดร่วมกันทั้งคู่ค้าและลูกค้า โดยจัดให้มีการประสานการทำงานร่วมกับทั้งหน่วยงานภายในองค์กรและภายนอก เพื่อให้สินค้ามีการส่งมอบไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างทันเวลา ดำเนินการให้มีกิจกรรมแบบบูรณาการ (Integration) ในการเชื่อมต่อกันของกิจกรรมต่างๆ ของกระบวนการผลิตและกระบวนการไหลของอุปทาน (Supply) ตั้งแต่วัตถุดิบจนไปถึงผู้บริโภค การประสานรวมกระบวนการทางธุรกิจ (Collaborate) ที่ครอบ คลุมจากผู้จัดส่งวัตถุดิบผ่านระบบธุรกิจอุตสาหกรรมไปสู่ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย โดยมีการส่งผ่านผลิตภัณฑ์การบริการและข้อมูลสารสนเทศควบคู่กันไป การสร้างมูลค่าเพิ่มในตัวผลิตภัณฑ์ (Value Added) การนำเสนอ มูลค่าเพิ่มสู่ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ซึ่งผู้บริหารต้องเข้าใจว่าปัจจัยสำคัญที่การบริหารแบบ "Best Practice" มักเกิดจากการต่อต้าน ภายในองค์กรเอง ทั้งสาเหตุจากการสูญเสียผลประโยชน์ของพนักงานจากการเสีย อำนาจในการสั่งการและจากวัฒนธรรมในองค์กรไม่เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลง


บทความที่9

บทความที่9
การนำระบบ Supply Chain Management (SCM) มาใช้ในธุรกิจ SMES
ธุรกิจที่เหมาะที่จะนำระบบ Supply Chain Management เข้ามาช่วยในการบริหารธุรกิจ จะมีลักษณะดังนี้
1. เป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง
2. ความต้องการสินค้าของลูกค้ามีความหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
3. ผลิตภัณฑ์/สินค้ามีวงจรชีวิตสั้น
ซึ่งก็เป็นลักษณะหลักๆของธุรกิจเอสเอ็มอี ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังและรองเท้าและธุรกิจอาหาร เป็นต้น โดยในปัจจุบันระบบ Supply Chain Management ถูกพัฒนาให้มีการบริหารที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยนำคอมพิวเตอร์เข้ามา เป็นเครื่องช่วยสำคัญ เรียกว่า ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)

มีบริษัทขนาดใหญ่หลายรายได้นำระบบนี้เข้ามาใช้งาน โดยหลักการเบื้องต้อนของ Supply Chain Management เป็นเรื่องของ การจัดการวัตถุดิบเป็นหลักก่อน ต่อมาก็จะเป็นเรื่องของการดูแลสินค้าคงคลัง และเป็นที่นิยมมากขึ้น จนเป็นเรื่องของการตอบสนอง ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และทั้งหมดจะใช้บาร์โค้ดเป็นตัวหลักเพื่อเป็นการประหยัดเวลา เพราะหากสต๊อกของผู้ที่รับสินค้าคุณไปขายหมดลงเมื่อไหร ระบบ Supply Chain จะแจ้งคุณทันทีทางคอมพิวเตอร์ และแจ้งต่อไปยังซัพพลายเออร์ที่ขายวัตถุดิบ ให้กับคุณ ส่งต่อไปให้โกดังที่ทำกล่องกระดาษบรรจุสินค้าคุณโดยจะส่งต่อไปหมดทุกที่ เช่นหากมีคนไปซื้อสินค้าของคุณ ในห้างสรรพสินค้า เมื่อไปถึงแคชเชียร์ แคชเชียร์อ่านรหัสบาร์โค้ด ระบบก็จะตัดสต๊อกทันที ซึ่งระบบจะเป็นแบบนี้ตลอดไปทำให้ง่าย ต่อการควบคุมสต๊อกและการทำงาน จึงสามารถลดต้นทุนค่าแรงงานคนงาน ค่าจ้างพนักงานขายและต้นทุนอื่นๆ ได้อีกมากมาย

ดังนั้นธุรกิจเอสเอ็มอีที่กำลังเติบโตสามารถนำแนวคิดนี้มาใช้ได้เช่นกัน อาจเริ่มต้นจากการบริหารให้แต่ละหน่วยงานภายในองค์กร สามารถส่งมอบชิ้นงานที่มีคุณภาพให้กับหน่วยงานถัดไปได้อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ฝ่ายจัดซื้อ ประสานงาน และพัฒนา ความสัมพันธ์กับ supplier ให้สามารถจัดส่งสินค้าได้ ฝ่ายผลิต วางแผนการผลิตสินค้า/บริการ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ฝ่ายจัดส่ง พัฒนาและค้นหาวิธีการในการจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าได้ตามเวลาที่ตกลงกัน แผนกคลังสินค้ามีการบริหารพัสดุคงคลังให้หมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เก็บสต๊อกมากหรือน้อยเกินไป เมื่อหน่วยงานภายในปฏิบัติได้ดีแล้วหลังจากนั้น อาจขยายออกไปสู่ supplier ภายนอกได้

สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการนำระบบ Supply Chain Management มาใช้บริหารงานความต้องมี
เข้าใจความหมายและหลักการของห่วงโซ่อุปทาน
มีวินัยในการวางแผนและการบริหารตารางกิจกรรมต่างๆ
มีระดับของการสื่อสารและการเชื่อมโยงของแผนและข้อมูลต่างๆระหว่างหุ้นส่วนที่ดีเยี่ยม
มีวิสัยทัศน์ (Logistics Vision) ที่มุ่งที่จะลดต้นทุนและยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า
รู้ว่าจะบริหารและจัดการโลจิสติกส์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมธุรกิจ
การใช้และการพัฒนาเทคโนโลยี
การพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันตลอดห่วงโซ่
การสร้างวัฒนธรรมที่เน้น Serviced and Integrated Business Mind

แนวทางในการจัดการปัญหาทางโลจิสติกส์
การเพิ่มระดับการให้บริการ การลดต้นทุน
พัฒนากลยุทธ์การให้บริการลูกค้า
ลดความน่าจะเป็นที่สินค้าจะขาดมือ
ลดระยะเวลาน่าส่งสินค้า
ใช้พื้นที่ขายให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสร้าง ความดึงดูดลูกค้า

ความต้องการเพิ่มกำไร ลดต้นทุน
ลดสินค้าคงคลังและกิจกรรมที่ไม่เกิดประโยชน์
ขจัดปัญหาคอขวดและความล่าช้าในการจัดส่ง
กำหนดจำนวน/ที่ตั้ง/ขีดความสามารถของโรงพักสินค้าให้เหมาะสม
ใช้การสั่งซื้อวัตถุดิบคราวละมากๆ เพื่อได้ส่วนลด
ใช้อุปกรณ์/ยานพาหนะให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ลดต้นทุนโดยรวมของธุรกิจ
ดังนั้นเมื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่นำระบบ Supply Chain Management เข้ามาช่วยในการบริหารงานจะทำให้สามารถลดต้นทุนได้ และสามารถลดเวลาการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีสินค้าตอบสนองผู้ซื้อและผู้ขายได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลดีต่อธุรกิจ อย่างมาก และเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปก็ต้องเปลี่ยนตาม เช่น มีการออกสินค้าใหม่ มีบริการให้ดีขึ้น ทำให้ทั้งผู้ประกอบการ และผู้บริโภคมีความพึงพอใจสูงสุด เพราะสินค้าสามารถไปถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว






บทความที่8

บทความที่8
Business Intelligence
ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และตลอดเวลา เช่นเดียวกัน ระบบธุรกิจก็มีการแข่งขันกันค่อนข้างรุนแรง และมากขึ้นด้วย จึงเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เลยว่าการที่องค์กรจะอยู่รอดได้นั้นจะต้องมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัยและทันท่วงที เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและสามารถนำไปวางแผน หรือ โต้ตอบปัญหา เชิงธุรกิจได้ทันต่อเหตุการณ์ ให้กับผู้บริหารระดับสูงขององค์กร
การที่จะได้มาซึ่งข้อมูล สารสนเทศเหล่านั้น หนึ่งจำเป็นต้องมีการแสวงหาหนทาง ในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ได้มาก เพราะว่าข้อมูลเหล่านั้นมิใช่ข้อมูล ภายในองค์กรเท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลขององค์กร ที่เป็นคู่แข่งหรือเป็นข้อมูลของ องค์กรอื่นๆ ที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันกับเราก็เป็นไปได้ สองการเลือกสรรข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณค่าจากกองข้อมูลที่มีขนาดมหึมา เพื่อให้แน่ใจว่าระบบข้อมูลสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมานั้นเป็นข้อมูลสารสนเทศที่ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรได้ เพื่อเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้จึงจำเป็นต้องมีระบบที่สามารถช่วยเตรียมข้อมูลที่ลึกซึ้ง และมีคุณค่าทางกิจกรรมทางธุรกิจให้แก่องค์กรได้
ปัจจุบันการวางแผนทางกลยุทธ์ของบริษัทนั้นจำเป็นต้องใช้ข้อมูลมากมาย ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูล ทางด้านการตลาด การขาย การเงิน การผลิตนั้นจะต้องทันกับเหตุการณ์ซึ่งมีข้อมูลเกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน ดังนั้นการจัดทำรายงาน จะต้องมีการแก้ไขบ่อย และมีความยุ่งยาก
Business Intelligence คือ ซอฟต์แวร์ (Software) ที่นำข้อมูลที่มีอยู่เพื่อจัดทำรายงานในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสมกับมุมมองในการวิเคราะห์  และตรงตามความต้องการ ของผู้ใช้งาน และใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล  ของงานในมุมมองต่างๆ   ตามแต่ละแผนก  เช่น
1.           วิเคราะห์การดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อการตัดสินใจด้านการลงทุนสำหรับผู้บริหาร
2.           วิเคราะห์และวางแผนการขาย / การตลาด เพื่อประเมินช่องทางการจำหน่าย ฯลฯ
3.           วิเคราะห์สินค้าที่ทำกำไร สูงสุด / ขาดทุนต่ำสุด เพื่อการวางแผนงานด้านการตลาด และการผลิต
4.           วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อยอดขายของสินค้า ฯลฯ
5.           วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน ฯลฯ
Business Intelligence จะประกอบไปด้วยระบบข้อมูล และโปรแกรมแอพพลิเคชั่น ด้านการวิเคราะห์ มากมายหลายระบบ เช่น
1.           ดาต้าแวร์เฮ้าส์ (Data Warehouse)
2.           ดาต้ามาร์ท (Data Mart)
3.           การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining)
4.           การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (Operations Research & Numerical Methods)
5.           เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในหลายมิติ (OLAP) แบบประมวลผลทันทีที่ป้อนข้อมูลเข้าไป
6.           และ ระบบสืบค้นและออกรายงานต่างๆ (Search, Report)
Business Intelligence ยังมีจุดเด่นเพิ่มขึ้นอีกในด้าน
1.           ใช้งานง่ายเพียงแค่คลิกเมาส์ก็สามารถเปลี่ยนแปลงรายงานได้โดยไม่ต้องมีการคีย์ข้อมูลใหม่ ซึ่งผู้ใช้สามารถถาม ตอบคำถามทางธุรกิจได้หลายมุมมองเพียงในเวลาไม่กี่นาที ซึ่งช่วยการตัดสินใจแม่นยำ และรวดเร็วกว่าคู่แข่ง ทั้งในเชิงกว้าง และเชิงลึก
2.           สามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่หลากหลายภายในองค์กรมาทำการวิเคราะห์ เช่น Excel, FoxPro, Dbase, Access, ORACLE, SQL Server, Informix, Progress, DB2 เป็นต้น โดยไม่มีการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมใดๆ
สรุป
การบูรณาการข้อมูล (integration of data) ระหว่างข้อมูลประวัติกับข้อมูลใหม่ ณ ปัจจุบัน นับเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของระบบ Business Intelligence (BI) ขั้นสูง เนื่องจากมีธุรกิจจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ นำผลลัพธ์จากระบบดังกล่าวไปใช้ประกอบการตัดสินใจกำหนดทิศทางธุรกิจและการตลาด ทั้งนี้ ธุรกิจที่เริ่มใช้แนวคิดนี้แล้วในปัจจุบันจะเป็นองค์กรที่ได้ประโยชน์สูงสุดก่อนใคร ก่อนที่มันจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาในอนาคตอันใกล้นี้
อ้างอิง


บทความที่7

บทความที่7
ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย
                ในบทที่ผ่านมาทั้งหมดยกเว้นบทเรียนนี้ คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ (Centralized Database System)เป็นหลัก กล่าวคือเป็นการกล่าวถึงลักษณะของการจัดเก็บข้อมูล สถานที่เก็บข้อมูล โปรแกรมระบบบริหารฐานข้อมูล การรักษาความปลอดภัย การฟื้นสภาพ และการควบคุมภาวะพร้อมกัน ของระบบฐานข้อมูลที่อยู่ในระบบฮาร์ดแวร์เดียวกัน ทว่าปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้ามากขึ้น ความสามารถของคอมพิวเตอร์สูงขึ้นในราคาเท่าเดิมหรือถูกกว่าเดิม ประกอบกับความแพร่หลายของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ก้าวหน้าและแพร่หลายในแทบทุกองค์การ ทำให้การเรียกใช้ฐานข้อมูลจากหลาย ๆ ที่ตั้ง ไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นอีกต่อไปเพียงแต่มีการวางสายสื่อสาร (Communication Line) โดยตรงระหว่างเครื่อง หรือเชื่อมต่อกับสายสื่อสารความเร็วสูง เช่น ใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) ภายในองค์การเอง หรืออาศัยสายสื่อสารสาธารณะอย่างของ ทศท คอร์ปอเรชั่น หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย คือ สายโทรศัพท์ หรือสายเช่า (Leased Line) ก็สามารถทำได้ กลวิธีอีกประการหนึ่งที่เป็นทางเลือกที่มีบทบาทมากขึ้นในยุคที่องค์การต่าง ๆ ต้องการกระจายอำนาจและความผิดชอบไปยังหน่วยงานย่อย โดยเฉพาะกระจายภาระความรับผิดชอบในการดูแลรักษาระบบฐานข้อมูล ก็คือ ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database System)
ความหมายและแนวคิดเบื้องต้น
                เราอาจได้คำจำกัดความของ ฐานข้อมูลแบบกระจาย ( A Distributed Database)   ได้ว่าเป็นกลุ่มของฐานข้อมูลหลายตัวที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทางตรรกะซึ่งกระจายอยู่บนข่ายงานคอมพิวเตอร์ (Ozsu and Valduricy, 1991, p .4: “We can define a distributed database as a collection of multiple, logically interrelated databases distributed over a computer network.”)
                ส่วนระบบบริหารฐานข้อมูลแบบกระจาย  (Distributed Database Management System)   หมายถึง ระบบซอฟต์แวร์ที่ยอมให้มีการจัดการฐานข้อมูลแบบกระจายได้ และทำให้ผู้ใช้มองไม่เห็นการกระจายนั้น (  Ozsu and Valduricy, 1991 , p5 : A distributed database management system is then defined as the software system that permits the management of the DDBS and makes the distribution transparent to the users.”)
ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย เป็นระบบที่ประกอบด้วยกลุ่มของที่ตั้ง เชื่อมโยงกันโดยเครือข่ายการสื่อสารซึ่ง
ก.       ที่ตั้งแต่ละแห่งมีระบบฐานข้อมูลที่สมบูรณ์แบบในตัวเอง
ข.       ที่ตั้งเหล่านั้นยินยอมที่จะทำงานร่วมกันเพื่อให้ผู้ใช้ที่อยู่ ณ ที่ตั้งใด สามารถเข้าถึงข้อมูลซึ่งอยู่ ณ ที่ใดก็ได้ในเครือข่าย โดยราวกับว่าข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดถูกเก็บไว้ ณ ที่ตั้งของผู้ใช้เอง (C.J.Date,2000,p.651)
 (A distributed database system consists of a collection of
sites , connected together via some kind of communications network , in which
a. Each site is a full database system site in its own right , but
b. The sites have agreed to work together so that a user at any site can access data anywhere in the network exactly as if the data were all stored at the user’s own site.)
จากคำจำกัดความข้างต้นทำให้ตีความได้ว่า ฐานข้อมูลแบบกระจายนั้นที่จริงแล้วเป็นฐานข้อมูลเสมือน (Virtual Database) อย่างหนึ่งซึ่งส่วนประกอบต่าง ๆ ของฐานข้อมูลนั้นถูกเก็บแยกไว้ในฐานข้อมูลจริงทางกายภาพ ณ ที่ตั้งต่าง ๆ กัน ดังนั้นฐานข้อมูลแบกระจายจึงเป็นการรวมของฐานข้อมูลจริงหลายตัวเข้าด้วยกัน (The Logical Union of Those Real Databases)
สังเกตข้อความที่ระบุว่าที่ตั้งแต่ละแห่งมีระบบฐานข้อมูลที่สมบูรณ์แบบในตัวเองนั้น  หมายความว่า แต่ละที่ตั้งมีฐานข้อมูลจริงเฉพาะที่ของตน มีผู้ใช้เฉพาะที่ของตน มีโปรแกรมระบบบริหารฐานข้อมูลเฉพาะที่ของตน และมีซอฟต์แวร์จัดการธุรกรรมของตนเอง (ซึ่งรวมทั้งต้องมีซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการล็อก  การบันทึกปูม  การฟื้นสภาพ และอื่น ๆ ) รวมทั้งมีตัวจัดการสื่อสารข้อมูลเฉพาะที่ (Local Data Communcations Manager) ของตนเองด้วย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีลักษณะการทำงานที่ผู้ใช้คนหนึ่งสามารถปฏิบัติการบนข้อมูล ณ ที่ตั้งของผู้ใช้เองได้ราวกับว่าที่ตั้งนั้นไม่ได้ร่วมอยู่ในระบบกระจายเลยดังนั้นระบบฐานข้อมูลแบบกระจายจึงอาจมองได้ว่าเป็นเหมือน หุ้นส่วน ระหว่างระบบบริหารฐานข้อมูลเฉพาะที่แต่ละที่ ณ ที่ตั้งของแต่ละตัวมารวมกัน ส่วนประกอบด้วยซอฟต์แวร์ใหม่ที่ต้องเพิ่มเข้ามาสำหรับแต่ละที่ตั้งจะเป็นตัวช่วยทำหน้าที่หุ้นส่วนที่จำเป็นแก่กันและกัน และการประสมประสานของส่วนประกอบใหม่นี้รวมกับระบบบริหารฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว คือสิ่งที่เราเรียก ระบบบริหารฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database Management System)
                ตามปกติที่ตั้งต่าง ๆ ที่มาประกอบกันนั้นมักจะอยู่คนละแห่งกระจัดกระจายกันไปอย่างในภาพ จะเห็นว่ามีที่ตั้งกรุงเทพฯ เชียง ขอนแก่น และระยอง เป็นต้น คือเป็นการกระจายทางภูมิศาสตร์ แต่ในบางกรณีเรายอมรับได้เช่นกันว่าที่ตั้งนั้นอาจกระจายกันอยู่ในเชิงตรรกก็อาจเป็นได้ เช่น ที่ตั้งฐานข้อมูล 2 แห่งอาจอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวเดียวกันก็ได้ บางทีอาจเป็นการกระจายในเครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network) กล่าวคือ ที่ตั้งฐานข้อมูล 2 แห่ง อาจอยู่ในอาคารเดียวกันและเชื่อมโยงกันด้วยระบบเครือข่ายเฉพาะที่ เป็นต้น แต่รูปแบบการกระจายที่ตั้งในลักษณะที่เป็นเครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) จะเป็นรูปแบบทั่วไปที่พึงประสงค์มากกว่าและใช้กันในความหมายของระบบฐานข้อมูลแบบกระจายที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่นี้ นอกจากนั้นเพื่อความสะดวกและง่ายต่อการอธิบายทำความเข้าใจ เราจะถือว่าระบบฐานข้อมูลแบบกระจายที่เรากล่าวถึงนี้เป็นระบบเหมือนกัน(Homogeneous System) กล่าวคือ ที่ตั้งแต่ละแห่งมีการใช้โปรแกรมระบบบริหารฐานข้อมูลเดียวกัน และมีระบบฮาร์ดแวร์เหมือนกัน เป็นต้น ซึ่งถ้าที่ตั้งแต่ละแห่งมีการใช้โปรแกรมระบบฯ ต่างกัน และมีระบบฮาร์ดแวร์ต่างกัน จะเรียกว่าเป็นระบบหลากหลาย (Heterogeneous System) ซึ่งก็จะมีความยากลำบากในการดูแลและบำรุงรักษาสูงกว่า
วัตถุประสงค์ของฐานข้อมูลแบบกระจาย
                หลักการพื้นฐานของฐานข้อมูลแบบกระจาย (The Fundamental Principle of Distributed Database) ได้ระบุไว้ว่า สำหรับผู้ใช้นั้น ระบบกระจายควรจะให้เขามองเห็นเหมือนกันระบบที่ไม่ได้กระจาย” (C.J. Date , 2000 , p.654) กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้ใช้ฐานข้อมูลในระบบกระจาย ควรจะสามารถกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้เหมือนกับว่าระบบที่ใช้อยู่นั้นไม่ใช้ระบบกระจาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำที่เป็นการจัดกระทำข้อมูล (Data Manipulation Operation) เช่น ใช้คำสั่งภาษาสอบถามเชิงโครงสร้างเพื่อสืบค้นข้อมูล เป็นต้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวควรจะให้ผู้ใช้รู้สึกว่าไม่แตกต่างจากระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์  แต่สำหรับการกระทำเพื่อนิยามข้อมูล(Data Definition Operation) เช่น ใช้คำสั่งภาษาสอบถามเชิงโครงสร้างเพื่อกำหนดรีเลชั่นและแอตทริบิวต์ต่าง ๆ นั้น จะต้องมีการเพิ่มเติมบางสิ่งบางอย่างเข้ามาสำหรับระบบกระจาย เช่น การแบ่งเรลวาร์ให้เป็นส่วนย่อม (Fragments) เก็บไว้ ณ ที่ตั้งสองที่ตั้ง เป็นต้น
                จากหลักการพื้นฐานดังกล่าวข้างต้นจึงนำไปสู่กฎเกณฑ์ย่อย (Subsidiary Rules)  หรือ วัตถุประสงค์ 12 ประการ (C.J. Date,2000,p.655) ดังนี้
1. ความเป็นอิสระเฉพาะที่ (Local Autonomy) หมายความว่า ที่ตั้งฐานข้อมูลแห่
หนึ่งในระบบกระจาย เป็นที่ตั้งที่มีข้อมูลเฉพาะที่ของตนและบริหารจัดการข้อมูลนั้นด้วยตนเอง  แม้ว่าผู้ใช้ที่อยู่ ณ ที่ตั้งอื่น ๆ จะขอดูได้ ก็จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลเรื่องความปลอดภัย ความถูกต้องของข้อมูล และการจัดเก็บของที่ตั้งเฉพาะที่นั้น
                2. ต้องไม่มีที่ตั้งใดทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง (No Reliance on a Central Site)  กล่าวคือ ไม่มีที่ตั้งแห่งใดแห่งหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นนายหรือบ่าว ที่ตั้งฐานข้อมูลแต่ละแห่งจะได้รับการปฏิบัติด้วยเสมอภาคกัน
                3. การปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก (Continuous Operation) การที่มีที่ตั้งฐานข้อมูลหลายแห่งจะช่วยให้มีความน่าเชื่อถือและการเตรียมให้บริการ (Reliability and Availability) ที่สูงขึ้น เช่น ความเป็นไปได้ที่ระบบจะถูกเปิดขึ้นมาทำงานได้ทุกเมื่อ และความเป็นไปได้ที่ระบบจะทำงานอยู่ตลอดเวลาในช่วงที่ให้บริการ
                4. ความเป็นอิสระจากที่ตั้ง หรือการมองผ่านสถานที่ตั้ง (Location Independence or Location Transparency) ผู้ใช้ไม่ควรจะรับรู้ว่าข้อมูลจริงทางกายภาพถูกจัดเก็บไว้ ณ ที่ตั้งใด แต่ผู้ใช้ควรจะสามารถกระทำการใด ๆ ได้เหมือนกับว่าข้อมูลนั้นถูกเก็บไว้ ณ ที่ตั้งของตนนั้น
                5. ความเป็นอิสระจากการแบ่งเป็นชิ้นส่วนย่อย หรือการมองผ่านชิ้นส่วนย่อย (Fragmentation Independence or Fragmentation Transparency) ในระบบกระจาย ข้อมูลอาจถูกแบ่งเป็นชิ้นส่วนย่อยหลายชิ้นเก็บไว้ ณ ที่ตั้งคนละแห่งกันหรือที่ตั้งเดียวกันแต่ละเครื่อง เพื่อประโยชน์ในการลดความแออัดในการสัญจรสื่อสารข้อมูลโดยอาจแบ่งข้อมูลในรีเลชั่นออกได้เป็น 2 แบบ คือ ชิ้นส่วนย่อยแนวนอน (Horizontal Fragmentation) และชิ้นส่วนแนวตั้ง (Vertical Fragmentation) ซึ่งสอดคล้องกับการทำ Restriction   และ Projection  จุดสำคัญ คือผู้ใช้ไม่ควรจะรับรู้ว่าข้อมูลจริงทางกายภาพถูกแบ่งชิ้นส่วนไว้กี่ชิ้น ณ ที่ใดบ้าง แต่ผู้ใช้ควรจะสามารถกระทำการใด ๆ ได้เหมือนกับว่าข้อมูลนั้นถูกเก็บไว้เป็นก้อนเดียวกันเท่านั้น
                6.ความเป็นอิสระจากการเก็บซ้ำชุดข้อมูล หรือ การมองผ่านการเก็บชุดข้อมูลซ้ำ ( Replication Independence or Replication Transparency) ในการเก็บชุดข้อมูลซ้ำไว้ ณ ที่ตั้งหลายแห่ง มีเหตุผลอย่างน้อยสองประการ คือ ประการแรกต้องการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือ Performance โดยโปรแกรมสามารถทำงานกับสำเนาข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ ณ ที่ตั้งของตน หรือที่ตั้งที่อยู่ใกล้ที่สุดดีกว่าที่จะต้องทำการติดต่อไปยังที่ตั้ง ณ ที่ห่างไกล ประการที่สองการเก็บข้อมูลซ้ำทำให้การเตรียมให้บริการที่ดีกว่า แต่อย่างไรก็ตามข้อเสียเปรียบของการเก็บชุดข้อมูลซ้ำก็คือในกรณีที่มีการปรับปรุงข้อมูลกับสำเนาชุดใดชุดหนึ่งสำเนาอื่น ๆ ทุกชุดที่เหลือจะต้องทำการปรับปรุงด้วย ซึ่งเป็นปัญหาการปรับปรุงข้อมูลตามกัน(The Update Propagation Problem) ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป ในทำนองเดียวกันกับชิ้นส่วนย่อยของข้อมูล ผู้ใช้ไม่ควรจะรับรู้ว่าข้อมูลจริงทางกายภาพถูกเก็บซ้อนไว้กี่ชุด ณ ที่ใดบ้าง แต่ผู้ใช้ควรสามารถกระทำการใด ๆ ได้เหมือนกับว่าข้อมูลนั้นมีเก็บไว้เพียงชุดเดียวเท่านั้น
                7. การประมวลผลสอบถามแบบกระจาย ( Distributed Query Processing) มีลักษณะสองประการคือ ประการแรกการสอบถามข้อมูลที่ไม่มีอยู่ ณ ที่ตั้งของตนจะต้องสามารถทำได้และประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการสื่อสารมากกว่าระบบการรับส่งข้อมูลปรกติซึ่งเป็นแบบครั้งละระเบียน (A Record – at – a – time System)  เช่น ถ้าใช้ซึ่งอยู่ในกรุงเทพ ฯ ต้องการสอบถามรายชื่อผู้จัดส่งที่อยู่ในเชียงใหม่เฉพาะผู้ส่งชิ้นส่วนสีแดง โดยที่ข้อมูลดังกล่าวมีเก็บไว้เฉพาะที่เชียงใหม่เท่านั้น จะมีการส่งข้อความเพียงสองครั้งเท่านั้น กล่าวคือ ครั้งแรกส่งข้อความสอบถามจากกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นลักษณะการทำงานของระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ แต่ถ้าเป็นการทำงานในระบบครั้งละระเบียนโดยทั่วไปแล้วจะต้องมีการส่งข้อความถึง 2n ครั้ง ระหว่างกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ เพราะจะส่งได้ทีละ 1 รายชื่อในระเบียน แล้วต้องร้องขอรายชื่อถัดไปทุกครั้ง ประการที่สอง การปรับคำสั่งให้มีประสิทธิภาพที่สุด (Optimization) ในระบบกระจายมีความสำคัญมากกว่าในระบบรวมศูนย์ เพราะคำสั่งสอบถามข้อมูลในระบบกระจายจะเกี่ยวข้องกับที่ตั้งฐานข้อมูลหลายแห่ง และมักจะมีวิธีการในการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากฐานข้อมูลต่าง ๆ ไปมาหาสู่กันได้หลากหลายวิธีซึ่งถ้าใช้คำสั่งที่ไม่มีประสิทธิภาพอาจทำให้การสืบค้นข้อมูลล่าช้ามาก ลักษณะนี้ทำให้ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายส่วนใหญ่จะหันมาใช้ระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เพราะคำสั่งจะถูกปรับให้มีประสิทธิภาพที่สุดเสียก่อนโดยส่วนประกอบของระบบที่ชื่อว่า Optimizer ก่อนที่ระบบจะตามคำสั่งนั้น
                8 การจัดการธุรกรรมแบบกระจาย (Distributed Transaction Management) เราได้ทรายแล้วว่าลักษณะสำคัญสองอย่างที่เกี่ยวข้องกับการจัดการธุรกรรม คือ การควบคุมการฟื้นสภาพ และการควบคุมภาวะพร้อมกัน ซึ่งในระบบฐานข้อมูลแบบกระจายจะต้องมีการเพิ่มความสามารถในการควบคุมสองอย่างนี้ กล่าวคือธุรกรรมแต่ละตัวจะต้องมีตัวแทน (Agents กระบวนการที่ทำงานให้แก่ธุรกรรมหนึ่งโดยเป็นตัวแทนอยู่ตามที่ตั้งต่าง ๆ ) หลายตัวคอยช่วย ณ ที่ตั้งต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ และระบบจะต้องทราบว่าตัวแทนใดบ้างมาจากธุรกรรมตัวเดียวกันเพื่อจะไม่ให้ตัวแทนสองตัวที่มาจากธุรกรรมเดียวกันแบ่งทรัพยากรและก่อให้เกิดวงจรอับในระบบขึ้นมา ในการควบคุมภาวะพร้อมกันของระบบกระจาย จะต้องมีการใช้การล็อก (Locking) เช่นกันกับระบบรวมศูนย์ และในการควบคุมการฟื้นสภาพของระบบกระจายต้องมั่นใจว่าธุรกรรมนั้นมีความเป็นหนึ่งเดียว (Atomic) โดยระบบต้องตรวจสอบได้ว่าตัวแทนทุกตัวของธุรกรรมที่ทำงานเสร็จแล้วมีการสั่งกระทำ(Commit) เหมือนกันทั้งหมด หรือ ย้อนกลับ (Rollback) เหมือนกันทั้งหมด ซึ่งจะทำได้ต้องมีการใช้ข้อตกลงกระทำสองระยะ

9.   ความเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์ (Hardware  Independence) หมายความว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย แม้ว่าจะต่างยี่ห้อต่างชนิดกันไปในแต่ละที่ตั้งหรือแต่ละแห่งก็ตาม จะต้องสามารถใช้ระบบบริหารฐานข้อมูลตัวเดียวกันได้ และต้องทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันเหล่านั้นมาร่วมอยู่ในระบบกระจายในฐานที่เท่าเทียมกันได้ด้วย
10.   ความเป็นอิสระจากระบบปฏิบัติการ (Operating System Independence)หมายความ
ว่าถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของที่ตั้งฐานข้อมูล 3 แห่งในระบบฐานข้อมูลแบบกระจายมรการใช้ระบบปฏิบัติการแตกต่างกัน เช่น ที่ตั้งแห่งแรกใช้ Linux ที่ตั้งแห่งที่สองใช้ UNIX และที่ตั้งแห่งที่สามใช้ Windows 2002 ทั้งสามแห่งจะต้องสามารถใช้ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายร่วมกันได้เป็นต้น
                11. ความเป็นอิสระจากเครื่องข่าย  (Network Independence) ถ้าที่ตั้งฐานข้อมูลแต่ละแห่งระบบฐานข้อมูลแบบกระจายมีลักษณะเครื่องข่าไม่เหมือนกัน ความแตกต่างนั้นต้องไม่เป็นอุปสรรค์ในการทำงานร่วมกัน
                12.  ความเป็นอิสระจากระบบบริหารฐานข้อมูล (DEMS  Independence)  สิ่งที่ต้องการตามวัตถุประสงค้อนี้ก็คือ โปรแกรมระบบบริหารฐานข้อมูลที่ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของที่ตั้งฐานข้อมูล ณ ที่ต่าง ๆ แม้ว่าเป็นโปรแกรมคนละยี่ห้อกัน เช่น ที่ตั้งแห่งแรกใช้ Ingres ส่วนที่ตั้งแห่งที่สองใช้ Oracle กล่าวคือแม้ว่าระบบฐานข้อมูลแบบกระจายจะเป็นระบบหลากหลาย(Heterogeneous System) แต่จะต้อสามารถติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันได้

ประโยชน์ของฐานข้อมูลแบบกระจาย
                เหตุใดฐานข้อมูลแบบกระจายจึงเป็นที่พึงประสงค์มากกว่า?  คำตอบก็คือเนื่องจากกิจการทั้งหลายมักจะเป็นแบบกระจายอยู่แล้ว คือแบ่งออกเป็นฝ่าย, แผนก,  กลุ่มงาน  ฯลฯ ทั้งในลักษณะทางตรรก และทางกายภาพ  นอกจากนั้นข้อมูลก็ได้ถูกกระจายแบ่งปันกันรับผิดชอบไปตามหน่วยงานย่อยต่าง ๆ อยู่แล้วดังนั้นสินทรัพย์สารสนเทศทั้งปวงขององค์การจึงถูกหั่นซอยออกไปอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า หมู่เกาะแห่งสารสนเทศ (islands of information) และระบบกระจายเป็นตัวช่วยสร้างสะพานเชื่อมโยงภาวะแก่งเห่านั้นเข้าด้วยกัน  กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือมันช่วยทำให้มีโครงสร้างระบบฐานข้อมูลที่เป็นกระจกเงาสะท้อนโครงสร้างขององค์การอย่างแท้จริง นั่นคือข้อมูลเฉพาะที่สามารถเก็บไว้เฉพาะที่นั้นซึ่งเป็นที่ที่มันสมควรจะอยู่  ขณะเดียวกันข้อมูลที่อยู่ไกลออกไปก็มารถจะเข้าถึงได้เมื่อจำเป็นหรือเมื่อต้องการที่จะทราบ
                การที่ทำให้โครงสร้างของฐานข้อมูลเป็นกระจกสะท้อนภาพโครงสร้างขององค์การได้นั้นจัดเป็นประโยชน์ข้อสำคัญองระบบกระจาย นอกจากนั้นยังมีประโยชน์ปลีก ย่อยอื่น  ๆ มากมายซึ่งจะกล่าวในภายหลัง  อย่างไรก็ตามเราจำเป็นจะต้องยอมรับว่าระบบกระจายนั้นมีข้อด้อยหรือข้อเสียเปรียบอยู่เช่นเดียวกันกล่าวคือ ข้อเสียเปรียบสำคัญองระบบกระจายคือมีความซับซ้อน อย่างน้อยที่สุดคือในด้านเทคนิค แม้ว่าปัญหานี้จะเป็นของผู้วางระบบ ไม่น่าจะเกี่ยวกับผู้ใช้ แต่ทว่าในทางปฏิบัติแล้วลักษณะความซับซ้อนดังกล่าวมักจะโผล่ออกมาให้ผู้ใช้เห็นอยู่เสมอ  เว้นแต่ว่าจะมีการป้องกันไว้เป็นอย่างดีเยี่ยมแล้วเท่านั้น
                เราอาจสรุปประโยชน์องระบบฐานข้อมูลแบบกระจายเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้ ( ตามที่เสนอโดย wzsu and valduricy 1991 p 8-10)
1.  มีความเป็นอิสระเฉพาะที่ ( Local Autonomy) ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ในหัวเรื่องที่ผ่านมาเนื่องจากข้อมูลที่ผู้ใช้กลุ่มหนึ่งมักต้องใช้เสมอถูกนำมาไว้ ณ ที่ตั้งที่พวกเขาทำงานอยู่และทำให้พวกเขาสามารถควบคุมได้ในที่ตั้ง นอกจากนั้นยังสามารถกำหนดและผลักดันการใช้ข้อมูลให้พวกเขาสามารถควบคุมได้ในที่ตั้ง นอกจากนั้นยังสามารถกำหนดและผลักดันการใช้ข้อมูลให้เป็นไปตามนโยบายของที่ตั้ง การทำได้เช่นกล่าวมานี้ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการทำงานแน่นอน ยังมีงานวิจัยโดย D Oliviera (อ้างจาก  Ozsu and Valduricy 1991 เมื่อปี 1977 ซึ่งระบุว่า เหตุผลสำคัญที่องค์การธุรกิจหลายแห่งหันมาพิจารณาการใช้ระบบสารสนเทศแบบกระจาย ก็เพราะความสามารถที่จะแบ่งอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในด้านการบริหารสารสนเทศให้กระจายไปตามหน่วยงานต่าง ๆ ได้นั่นเอง ซึ่งแนวคิดนี้อาจถือเป็นการพัฒนาเชิงสังคมวิทยาในด้านการใช้คอมพิวเตอร์ที่สำคัญในยุคปัจจุบัน
                2.  ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น (Improved Performance) เนื่องจากแน่ละที่ตั้งของฐานข้อมูล ดูแลรับผิดชอบเฉพาะส่วนของฐานข้อมูลทั้งหมดขององค์การเท่านั้น ทำให้ความหนาแน่นของงานทีหน่วยประมวลผลกลางต้องทำ และบริการเกี่ยวกับการนำข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออก ไม่หนักหนาเท่ากับระบบรวมศูนย์ นอกจากนั้นธุรกรรมที่ทำการสืบค้นข้อมูลอาจกระทำกับข้อมูล ณ ที่ตั้งอื่น ๆ ได้หลายที่ จึงทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเอ็กซีคิวธุรกรรมแบบขนาน
                3.  ความเชื่อถือได้และความพร้อมบริการที่ดีขึ้น  ถ้าข้อมูลมีการทำสำเนาซ้ำเก็บไว้มากกว่าหนึ่งที่ตั้ง ในกรณีที่เกิดความขัดข้อง ณ ที่ตั้งหนึ่ง หรือสัญญาณสื่อสารใช้ไม่ได้ ย่อมมีทางอื่นที่จะเรียกค้นข้อมูลของที่ตั้งนั้นขึ้นมาได้ นอกจากนั้นความขัดข้องดังกล่าวย่อมไม่สามารถทำให้ระบบฐานข้อมูลทั้งระบบหยุดการทำงานไป
                4.  ความประหยัด  (economics) เราอาจมองความประหยัดได้ในสองมุมมอง มุมแรกคือประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสาร (communication costs ) ถ้าฐานข้อมูลอยู่กระจายตามพื้นที่ถูมิศาสตร์และโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานด้วยนั้นมีปฎิสัมพันธ์กับข้อมูลท้องที่นั้นตั้งอยู่)  จะเป็นการประหยัดกว่าถ้าเราจะแบ่งเอาโปรแกรมดังกล่าวมาประมวลผลเฉพาะแต่ละที่ตั้ง  มุมที่สองคือ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กหลาย ๆ เครื่อง ซึ่งสามารถทำงานได้เท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เครื่องเดียว(เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องโดยทั่งไปจะมีราคาแพงกว่าเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ถึง 10 เท่า)
                5.  ความสามารถที่จะขยายระบบ  (expandability) ในสภาพแวดล้อมแบบกระจายการขยายขนาดฐานข้อมูลจะทำได้ง่ายกว่า เพราะแทบไม่จำเป็นต้องมีการยกเครื่องขนาดใหญ่แต่อย่างใด เพียงแต่เพิ่มหน่วยประมวลผลและสื่อเก็บข้อมูลเข้าไปในเครือข่าย หรืออาจเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพียงเครื่องเดียวเข้าไปในเครือข่ายก็สามารถขยายระบบได้
                6.  ความสามารถในการแบ่งปัน (shareability) ในองค์การที่มีสาขากระจายกันไปตามเมืองจังหวัด หรือรัฐต่าง ๆ การที่จะแบ่งปันทรัพยากร และข้อมูลได้นั้นย่อมต้องอาศัยระบบกระจาย ซึ่งจะทำได้การแบ่งปันนั้นยืดหยุ่นมากกว่าระบบรวมศูนย์
ปัญหาและข้อเสียเปรียบของระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย
     ปัญหาของระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย
                วัตถุประสงค์และแนวคิดของระบบฐานข้อมูลแบบกระจายที่ได้อธิบายมานั้นทำให้สรุปได้ประการหนึ่ง คือ ต้องการให้ผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลสามารถประมวลผลได้เหมือนผู้ใช้ที่อยู่ใกล้ ซึ่งในความเป็นจริงเป็นเครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN) ซึ่งต้องอาศัยสายสื่อสารสาธารณะเช่น สายโทรศัพท์ ซึ่งมีอัตราการส่งข้อมูลประมาณ 5,000 ถึง 10,000 ไบท์ต่อวินาที ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์มีอัตราการโอนย้ายข้อมูลประมาณ 5 ถึง 10 ล้านไบท์ต่อวินาที ซึ่งถือว่าห่าง ชั้นกันมาก ดังนั้นวัตถุประสงค์ของระบบฐานข้อมูลแบบกระจายจึงมุ่งไปที่การลดการใช้เครือข่ายลงให้ใช้น้อยที่สุด
( To minimize network utilization) ซึ่งการทำเช่นนี้ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาดังต่อไปนี้
   1.   การประมวลผลสอบถาม  (Query Processing)  ปัญหาด้านการประมวลผลสอบถามเกิดจากการที่พยายามลดการติดต่อผ่านระบบเครือข่ายให้เหลือน้อยที่สุด (Query Optimization) ซึ่งอาจทำให้มีขั้นตอนในการประมวลผลที่ยุ่งยากและทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบรวมศูนย์
                2.  การจัดการพจนานุกรมข้อมูล ( Catalog Management) ปัญหาด้านการจัดการพจนานุกรมข้อมูลในระบบกระจายเกิดจากการที่จะตัดสินใจเก็บมันไว้ที่ไหนและอย่างไร เนื่องจากมีข้อมูลเกี่ยวกับฐานข้อมูลมากกว่าระบบรวมศูนย์ และมีการแยกกระจายเข้ามาอีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งต้องมีมาเก็บข้อมูลการควบคุม (Control Intormation) เอาไว้ด้วย เช่น ข้อมูลที่ตั้ง ชิ้นส่วนข้อมูล และสำเนาซ้ำของข้อมูล เป็นต้น มีแนวทางการจัดเก็บหลายวิธี ได้แก่ การจัดเก็บไว้ที่ศูนย์รวมทั้งหลาย การจัดเก็บพจนานุกรมข้อมูลทั้งหมดไว้ทุกที่ตั้ง  การจัดเก็บเพียงบางส่วนไว้ที่สาขาที่ใช้ข้อมูล หรือแบบประสมระหว่างการจัดเก็บไว้ที่ศูนย์รวมทั้งหมดและจัดเก็บเพียงบางส่วนไว้ที่สาขา
                3.  การปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องตามกัน (Update Propagation) ปัญหาการปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องตามกันนี้เกิดจากการที่ระบบยอมให้มีสำเนาข้อมูลซ้ำเก็บไว้ในที่ตั้งต่าง ๆ กันได้ ตัวอย่างเช่น สาขาเชียงใหม่ และสาขาระยอง มีการเก็บข้อมูลชุด ต ซ้ำกัน ถ้าสาขาเชียงใหม่มีผู้ทำการปรับปรุงข้อมูล ต แล้วจะต้องนำเอาข้อมูลชุด ต ที่เปลี่ยนแปลงแล้วนี้ไปปรับปรุงให้กับสาขาระยอง ถ้าบังเอิญเกิดเหตุขัดข้องทำให้ไม่สามารถปรับปรุงข้อมูล ต ณ สาขาระยองได้ ก็จะทำให้เกิดความไม่ถูกต้องขึ้นในระบบ โดยเฉพาะที่สาขาระยอง
4.   การควบคุมการฟื้นสภาพ (Recovery Control ) ปัญหาด้านการควบคุมการฟื้นสภาพนี้อธิบายไว้บ้างแล้วในหัวข้อวัตถุประสงค์ของระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย กล่าวคือ จะต้องมีตัวแทน (Agent ) มีข้อตกลงกระทำสองระยะ (Two – phase Commit Protocol ) และมีตัวประสานงาน (Coordinator) ซึ่งยุ่งยากซับซ้อนกว่าระบบรวมศูนย์
                5.  การควบคุมภาวะพร้อมกัน (Concurrency Control) ปัญหาด้านการควบคุมภาวะพร้อมกันนี้ได้อธิบายไว้บ้างแล้วเช่นกัน กล่าวคือ ต้องมีการล็อก (Locking) ซึ่งเหมือนกับระบบรวมศูนย์แต่ต่างกันคือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับการล็อก ได้แก่ การร้องขอ การทดสอบ การเซต และการปล่อยล็อก ล้วนแต่เพิ่มค่าใช้จ่าย เนื่องจากต้องมีการส่งข้อความ (Message)ไปมาระหว่างที่ตั้งสาขาที่สื่อสารกัน ความยุ่งยากจะเกิดขึ้นเมื่อต้องมีการปรับปรุงวิธีการส่งข้อความ เช่น เอาการร้องขอมารวมกับการปรับปรุงข้อมูล แล้วส่งไปพร้อมกัน ซึ่งเรียกว่าวิธีขนลูกหมูขึ้นรถ (Piggybacking) ซึ่งแม้จะทำถึงขนากนี้แล้วก็ยังไม่สามารถรับประกันได้ว่าระบบกระจายจะเร็วเท่าระบบรวมศูนย์ ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การล็อกในระบบกระจายอาจนำไปสู่วงจรแบบรวม(Globak Deadlock )
ซึ่งเป็นวงจรอับที่เกี่ยวข้องกับที่ตั้งสองแห่งขึ้นไป

ข้อเสียเปรียบของระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย
                ต่อไปนี้เป็นข้อเสียเปรียบที่เกิดจากปัญหาหลากประการของการกระจายฐานข้อมูล ดังที่กล่าวมา
1. ความซับซ้อน ( Complexity) ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบฐานข้อมูลแบบกระจายโดยธรรมชาติแล้วมีความสลับซับซ้อนมากกว่าระบบฐานข้อมูลธรรมดาเพราะนอกจากจะมีปัญหาของระบบฐานข้อมูลธรรมดาแล้วยังมีปัญหาที่ยังแก้ไม่ตกแบบใหม่ ๆ อีกด้วย เช่น ในเรื่องของการควบคุมภาวะพร้อมกัน การควบคุมการฟื้นสภาพ และการปรับปรุงข้อมูลให้สอดคล้องกัน เป็นต้น
                2.  การขาดประสบการณ์ (Lock of Experience) เนื่องจากยังมีผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายน้อยกว่าระบบรวมศูนย์อยู่มาก จึงทำให้มีโปรแกรมประยุกต์ใช้น้อย มีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์น้อยกว่า องค์การที่มีการใช้ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายในระยะเริ่มแรก คือ สายการบิน (ระบบจองตั๋ว)
                3.  ค่าใช้จ่าย (Cost) ระบบกระจายจำเป็นต้องมีฮาร์ดแวร์เพิ่มเติมเข้ามา โดยเฉพาะหน่วยงานที่ไม่เคยมรการประมวลผลแบบกระจายมาก่อนจะต้องเพิ่มอุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น ประการที่สองคือค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ทั้งทางด้านระบบบริหารฐานข้อมูลแบบกระจายแบะทางด้านสื่อสารเพื่อช่วยแก้ปัญหาทางเทคนิคอีกด้วย ประการสุดท้ายคือค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน โดยเฉพาะการทำสำเนาข้อมูลซ้ำ และการบำรุงรักษาระบบเป็นต้น ในกรณีนี้ผลกำไรที่สูงขึ้นต้องชั่งน้ำหนักกับค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรในส่วนนี้ที่ต้องเพิ่มขึ้น
                4. การกระจายการควบคุม (Distribution of Control) ประเด็นนี้อาจถือได้ว่าเป็นทั้งประโยชน์และข้อเสียเปรียบของระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนดาบสองคม การกระจายการควบคุมจะสร้างปัญหาเรื่องภาวะพร้อมกันและการประสานงาน ( Synchronization and Coordination) นอกจากนั้นแล้วหากไม่มีการเอาใจใส่ที่ดีพอในเรื่องของนโยบายด้านการควบคุม อาจทำให้เกิดเป็นภาระผูกพันขึ้นมาให้หนักใจแก่ผู้บริหาร
                5.  ความปลอดภัย ( Security) เปรียบเทียบกับระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ซึ่งมีประโยชน์ในเรื่องความสะดวกและง่ายในด้านการรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลเพราะระบบบริหารฐานข้อมูล ณ ที่ตั้งแห่งเดียวย่อมสามารถบังคับใช้กฎเกณฑ์ ในการเข้าถึงข้อมูลได้ไม่ยาก ทว่าในระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย มีสื่อกลางคือเครือข่ายเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าการรักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นยังมีปัญหาอยู่มาก ดังนั้นจึงเห็นได้ชัดว่าปัญหาเรื่องความปลอดภัยในระบบฐานข้อมูลแบบกระจายโดยธรรมชาติแล้วมีความสลับซับซ้อนมากกว่าแบบรวมศูนย์แน่นอน
                6. ความยากลำบากในการเปลี่ยนแปลง (Difficulty of Change ) เนื่องจากองค์การธุรกิจส่วนใหญ่ได้ลงทุนทำระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ไปมากแล้ว และในปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือหรือระเบียบวิธีการใดที่จะช่วยให้ผู้ใช้แปลงฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ให้ออกมาเป็นระบบฐานข้อมูลแบบกระจายได้โดยตรงซึ่งต้องรองงานศึกษาวิจัยทางด้านฐานข้อมูลแบบหลากหลาย (Heterogeneous Databases) และ การบูรณาการฐานข้อมูล (Database Integration) ให้เอาชนะความยุ่งยากเหล่านี้ให้ได้ก่อน

อ้างอิงจาก
http://itd.htc.ac.th/st_it50/it5041/weblinkwork/webcds/data&c/data/d10.htm