วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปบทที่1

สรุปบทที่  1
ความรู้ด้านธุรกิจ
     ธุรกิจ  คือ  องค์การหนึ่งซึ่งเสนอขายสินค้าหรือบริการต่อลูกค้าเป้าหมาย   โดยมีวัตถุเพื่อแสวงหากำไร   ซึ่งสามารถจำแนกรูปแบบขององค์กรธุรกิจ  ได้ดังนี้
รูปแบบที่ 1  เจ้าของคนเดียว  คือองค์การขนาดเล็กที่มีบุคคลเพียงคนเดียวเป็นเจ้าของ  การจัดตั้งธุรกิจทำได้ง่าย  เจ้าของกิจการเป็นผู้ดำเนินงานเอง  ละรับผิดชอบในหนี้สินของรานโดยไม่จำกัดจำนวนเงิน
รูปแบบที่ 2   ห้างหุ้นส่วน  คือ กิจการที่มีบุคคลตั้งแต่  2คนขึ้นไป  เข้าร่วมลงทุนโดยมุ่งหวังกำไรซึ่งจำแนกได้เป็น  2  ประเภทคือ
1.             ห้างหุ้นส่วนสามัญ  คือผู้เป็นหุ้นส่วนจะร่วมกันรับผิดชอบหนี้สินของห้างหุ้นส่วนอย่างไม่จำกัดจำนวนเงิน  โดยจะมีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ได้
2.             ห้างหุ้นส่วนจำกัด  คือ  ห้างหุ้นส่วนที่ประกอบด้วยผู้เป็นหุ้นส่วน  2  ประเภท คือ ประเภทที่รับผิดชอบในหนี้สินอย่างไม่จำกัดจำนวนเงิน  และประเภทที่รับผิดชอบในหนี้สินโดยจำกัดแค่จำนวนเงินที่นำมาลงทุนเท่านั้น
รูปแบบที่  3  บริษัทจำกัด  คือ  กิจการที่ตั้งขึ้นในรูปนิติบุคคลด้วยการแบ่งเงินลงทุนออกเป็นงวดๆโดยจำแนกออกเป็น  2  ประเภท  คือ  บริษัทเอกชนและบริษัทมหาชน
รูปแบบที่  4  รัฐวิสาหกิจ  หรือห้างหุ้นส่วนที่มีทุนจดทะเบียนของรัฐเกิน  50%
ประเภทของธุรกิจ   แบ่งออกเป็น  3  ประเภท  ดังนี้
ประเภทที่ 1  หน่วยบริการ  ถือเป็นหน่วยธุรกิจที่นิยมอย่างสูง  ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมทางธุรกิจที่เรียบง่ายไม่มีความซับซ้อนเท่าใดนักมีจุดมุ่งหมายที่จะบริการลูกค้าและคิดค่าธรรมเนียมเป็นการตอบแทน  เช่น  สำนักงานบัญชี  ร้านเสริมสวย
ประเภทที่  2  หน่วยค้าสินค้า  หรือธุรกิจพาณิชยกรรม  มีกิจกรรมทางธุรกิจที่ซับซ้อนมากกว่าหน่วยบริการ  เป้าหมายคือการมุ่งเน้นที่จะซื้อสินค้าในราคาต่ำและขายในราคาสูงเพื่อนำส่วนต่างมาเป็นกำไรจากการขายและการดำเนินงาน  เช่น  ร้านขายคอมพิวเตอร์   ห้างสรรพสินค้า
ประเภทที่  3  หน่วยผลิตสินค้า  หรือธุรกิจอุตสาหกรรม  มีความซับซ้อนของกิจกรรมทางธุรกิจสูงสุด  เป้าหมายคือการมุ่งเน้นที่จะผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพในราคาต้นทุนที่ต่ำและขายสินค้าในราคาสูงเพื่อนำส่วนต่างของราคาขายและต้นทุนการผลิตต่อหนึ่งหน่วยสินค้ามาเป็นผลกำไรจาการผลิตและการขาย  เช่น  ผู้ผลิตรถยนต์  โรงงานอัดกระป๋อง
การจัดตั้งและการดำเนินงานทางธุรกิจ
    จุดเริ่มต้นของการดำเนินงานทางธุรกิจ  เจ้าของกิจการทุกรูปแบบจะตองนำเงินมาลงทุนร่วมกันเพื่อจัดตั้งหน่วยธุรกิจขึ้น   การดำเนินงานต่างๆจะต้องเป็นไปเพื่อหารายได้เข้าสู่องค์การขณะเดียวกันก็จะมีการสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย  โดยอาจเรียกการดำเนินการจัดตั้งธุรกิจว่า  การเสี่ยงลงทุน
    การจัดหาทรัพยากรมาใช้เพื่อการดำเนินงานทางธุรกิจ  ลงในธุรกิจภายใต้ส่วนของเจ้าของ   ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน  หรือส่วนของผู้ถือหุ้น  แต่หากเงินลงทุนไม่เพียงพอก็อาจกูยืมจากแหล่งภายนอกกิจการ  เช่น  ธนาคาร  เป้าหมายของการจัดหาทรัพยากร  คือ  เงินสด  สินค้า  วัสดุและอุปกรณ์สำนักงาน   สถานที่ประกอบกิจการ  รวมทั้งการว่าจ้างแรงงาน
กิจกรรมการดำเนินงาน  คือ  การดำเนินการด้านต่างๆ  ที่จำเป็นของธุรกิจเพื่อความอยู่รอดขององค์การ  โดยหมายรวมถึงสิ่งต่อไปนี้  คือ
กิจกรรมที่  1  การจัดหาวัตถุดิบ  หรือทรัพยากรอื่นๆ  เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ
กิจกรรมที่  2  การใช้ทรัพยากร  เพื่อผลิตสินค้าหรือบริการนั้นๆ
กิจกรรมที่  3  การขาย  ตลอดจนการจำหน่ายสินค้าหรือบริการต่อลูกค้า
หน้าที่งานทางธุรกิจ 
   หน้าที่งานทางธุรกิจหรือฟังก์ชันทางธุรกิจมักถูกใช้เพื่อแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบภายใต้ภาระงาน  การกำหนดเขตพื้นที่ของแต่ละหน้าที่งานมักจะกำหนดตามไหลของทรัพยากรจากหน้าที่หนึ่งเข้าสู่อีกหน้าที่หนึ่ง
การจัดแบ่งงานทางธุรกิจจะแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจ  ขนาดของธุรกิจ  และสายผลิตภัณฑ์
การตั้งชื่อหน้าที่งานทางธุรกิจยังแตกต่างกันไป  เช่นธุรกิจหนึ่งอาจเรียกทรัพยากรแรงงานว่า  บุคลากร ในขณะที่อีกธุรกิจหนึ่งเรียกว่า    ทรัพยากรมนุษย์
การจัดโครงสร้างองค์การ
  การดำเนินการทางธุรกิจส่วนใหญ่   จะดำเนินตามโครงสร้างองค์การของธุรกิจที่สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจ  หน้าที่  และความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์การ  โดยมีการปฏิบัติตามกิจกรรมการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน  ที่มีส่วนช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
ความรู้ด้านสารสนเทศ
   ข้อมูล  คือคำพรรณนาถึงสิ่งของ  เหตุการณ์  กิจกรรม  และธุรกรรมซึ่งถูกบันทึก  จำแนกและจัดเก็บไว้ภายในแหล่งเก็บข้อมูล  แต่ยังไม่มีการจัดโครงสร้างเพื่อถ่ายโอนไปยังสถานที่เฉพาะเจาะจง  อาจอยู่ในรูปแบบ  ตัวอักษร  ตัวเลข   รูปภาพ  หรือเสียงก็ได้
ธุรกรรมแบ่งออกเป็น  2  ส่วน  ดังนี้
ส่วนที่  1ธุรกรรมที่เป็นตัวเงิน  คือเหตุการณ์ทางเศรษฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบกับมูลค่าสินทรัพย์  ส่วนของเจ้าของธุรกิจ  ซึ่งสะท้อนให้เห็นตัวเลขทางการบัญชีที่สามารถวัดมูลค่าเป็นตัวเงินได้
ส่วนที่  2  ธุรกรรมที่ไม่เป็นตัวเงิน  คือเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบหรืออยู่ในความสนใจของธุรกิจ
   สารสนเทศ  คือ  ข้อมูลที่ถูกจัดโครงสร้างให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและมีมูลค่าต่อผู้รับ  โดยมีการนำข้อมูลผ่านกระบวนการประมวลผล  และจัดให้อยู่ในรูปแบบที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน  อีกทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการตัดสินใจ
    ความรู้  จะประกอบด้วย  ข้อมูลและสารสนเทศ  ซึ่งถูกจัดโครงสร้างและประมวลผล  เพื่อถ่ายโอนความเข้าใจ  ประสบการณ์และการเรียนรู้รวมทั้งความเชี่ยวชาญที่เก็บสะสมไว้ภายในฐานความรู้
คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี 
   ประกอบด้วยคุณลักษณะ  6  ประการดังต่อไปนี้
1.             ความตรงกับกรณี
2.             ความทันต่อเวลา
3.             ความถูกต้อง
4.             ความครบถ้วนสมบูรณ์
5.             การสรุปสาระสำคัญ
6.             การตรวจสอบได้
มูลค่าของสารสนเทศ
  สารสนเทศมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของธุรกิจและก่อให้เกิดมูลค่าของสารสนเทศ  การพิจารณามูลค่าของสารสนเทศ  จะขึ้นกับความพอใจของผู้ใช้ประโยชน์ที่ได้รับเป็นสำคัญ
ข้อจำกัดของการใช้สารสนเทศ
  จำแนกข้อจำกัดของการนำสารสนเทศไปใช้อย่างระมัดระวังได้  2  ประการ
ประการที่  1  การเกิดภาวะของสารสนเทศที่มากเกินความจำเป็น  ผู้บริหารจะต้องระมัดระวังในเรื่องของปริมาณของสารสนเทศที่จัดส่งให้มีความเหมาะสมกับความต้องการ  และระยะเวลาที่จำกัดของการใช้สารสนเทศนั้นๆ
ประการที่  2  ธุรกิจส่วนใหญ่ที่มีการจัดทำรายงานเพื่อวัดผลการดำเนินงานนำเสนอต่อผู้บริหารขององค์การเพื่อกระตุ้นพนักงานให้มีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักขององค์กร  แต่หากรายงานที่ใช้นั้นมีมาตรการวัดผลการดำเนินงานที่ไม่เหมาะสมก็จะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามกับความต้องการได้
เทคโนโลยีสารสนเทศ
   หมายถึง  ชุดของระบบคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ภายในองค์การ   ที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์  ฐานข้อมูล  เครือข่ายและโทรคมนาคม   รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
    สรุปความเปลี่ยนแปลงได้เป็น  3   ระยะ  ดังนี้
ระยะที่  1  องค์การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับจัดการงานประจำวันที่เกิดขึ้นซ้ำๆกันในทุกวันทำการ
ระยะที่  2  องค์การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในฐานะของเทคโนโลยีที่มีกรรมสิทธิ์เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน  โดยมีการลงทุนในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศจำนวนมากเพื่อพยายามรักษาความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีไว้
ระยะที่  3  องค์การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในฐานะของเทคโนโลยีที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานมีการใช้งานร่วมกันระหว่างองค์การบนพื้นฐานของระบบเครือข่าย  อีกทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ยังอยู่ในฐานะสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพการใช้งานสูง  ราคาถูกและสามารถหาซื้อได้ง่าย  และมีความจำเป็นต่อการใช้งาน
ผลประโยชน์ที่องค์การควรได้รับจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดังนี้
1.                 เป็นการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้
2.                เป็นการสร้างความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน
3.                เป็นการสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
4.                เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับองค์การทั้งในทางตรงและทางอ้อม
5.                เป็นการลดค่าใช้จ่ายด้นแรงงานและลดการใช้ทรัพยากรที่ซ้ำซ้อนลง
6.                เป็นการเพิ่มคุณภาพของสินค้าหรือบริการเพื่อให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้
7.                เป็นการสร้างความแตกต่างระหว่างองค์การ
การใช้สารสนเทศในองค์กรธุรกิจ
1.                กระบวนการทางธุรกิจ  คอวิธีการทำงานที่มีลักษณะเฉพาะของการจัดระบบงานและการประสานงานทางธุรกิจโดยมุ่งเน้นการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสำหรับการส่งมอบให้ลูกค้า  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่  การทำคำสั่งซื้อของลูกค้าให้บรรลุผล  ตลอดจนการว่าจ้างแรงงาน  ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางธุรกิจ   กระบวนการทางธุรกิจคือการรวมตัวของ  3  ส่วนประกอบคือ  กระบวนการปฏิบัติการ  กระบวนการจัดการ  กระบวนการสารสนเทศ
2.                แนวทางการใช้สารสนเทศทางธุรกิจ    จำแนกระดับของการใช้ข้อมูลและสารสนเทศได้  2  ระดับ  คือ    ระดับปฏิบัติการ   และระดับบริหาร
3.                สายงานด้านสารสนเทศ  สามารถจำแนกสายงานด้านสารสเทศได้ดังนี้
-          สายงานด้านสารสนเทศในแนวดิ่ง  จำแนกได้เป็น  2  ประเภท  คือ  การรายงานผลการปฏิบัติงาน    การงบประมาณและการสั่งการ
-         สายงานด้านสารสนเทศในแนวนอน  จำแนกได้เป็น  2  ประเภท  คือ  การกระจายสารสนเทศภายในองค์การ  การกระจายสารสนเทศไปยังองค์การภายนอก  ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงกับองค์การภายนอก  2  กลุ่ม    กลุ่มที่  1  คือหุ้นส่วนธุรกิจ    กลุ่มที่  2 ผู้มีส่วนได้เสีย
สารสนเทศทางธุรกิจยุคโลกาภิวัตน์
โลกาภิวัตน์  หมายถึง  การแพร่กระจายไปทั่วโลก
อินเตอร์เน็ต  หมายถึง  การเชื่อมต่อของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งก่อให้เกิดการแพร่กระจายของสารสนเทศ
อีคอมเมิร์ซ   มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจสากล  ซึ่งมีอยู่  5 ข้อ  คือ
1.                ระบบเศรษฐกิจ   ระบบเศรษฐกิจภายใต้การดำเนินธุรกิจ  มักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  เศรษฐกิจยุคดิจิทัล    เศรษฐกิจยุคดิจิทัล  หมายถึงเศรษฐกิจหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล  เช่น  อินเตอร์เน็ต  อินทราเน็ต    ในบางครั้งนิยมเรียกเศรษฐกิจยุคดิจิทัลว่า  เศรษฐกิจยุคใหม่  เศรษฐกิจยุคอินเตอร์เน็ต  หรือเศรษบกิจยุคเว็บโดยมีการนำเสนอสารสนเทศบนแพลตฟอร์มทั่วโลก
2.                การจัดองค์การ  การดำเนินธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์  จะปรากฏการจัดองค์การรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า  องค์การดิจิทัล   องค์การดิจิทัล  คือ  องค์การที่มีการทำงานในหลายมิติ   โดยอาศัยความสามารถด้านดิจิทัลและสื่อดิจิทัล  จัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางธุรกิจ  โดยพาะในส่วนที่ติดต่อกับลูกค้า  ผู้จัดหารวมทั้งลูกจ้างขององค์การ
3.                แบบจำลองของธุรกิจ  คือ  วิธีการดำเนินธุรกิจ  ที่ส่งผลให้บริษัทสามารถสร้างรายได้เพื่อค้ำจ้นองค์การให้อยู่รอด  ซึ่งจะอธิบายถึงวิธีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าเต็มใจจ่าย
4.                เครือข่ายคอมพิวเตอร์    เครือข่ายคอมพิวเตอร์  ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งก็คือ  โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ  และอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์แบบกระจายโดยมีการเชื่อมต่อของระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น  เช่น  เครือข่ายโทรคมนาคม
5.                โอกาสของผู้ประกอบการ
ได้กำหนดวิธีโต้ตอบหลักขององค์การไว้  7  วิธี  คือ  การจัดการเชิงกลยุทธ์  จุดศูนย์รวมลูกค้า    การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง   การปรับกระบวนการทางธุรกิจ  นวัตกรรมด้านการผลิตตามคำสั่ง  และการผลิตสั่งทำแบบปริมาณมาก   ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์   และพันธมิตรทางธุรกิจ  โดยวิธีการโต้ตอบทั้ง  7  วิธีนี้  มักเป็นวิธีการโต้ตอบที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน


อ้างอิง   รุจิจันทร์   พิริยะสงวนพงศ์.  สารสนเทศทางธุรกิจ. บริษัท วี พริ้น (1991)  จำกัด.