บทความที่ 10
Supply Chain Best Practice กลยุทธ์องค์กร
การที่จะนำระบบ Logistics - Supply Chain ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงในภาคธุรกิจ จะต้องจัดทำแผนกลยุทธ์ในการนำระบบการจัดการโซ่อุปทานโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศ ที่เรียกว่า "Best Practice Strategy Plan" ไปใช้ในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยต้องตั้งเป้าหมายให้สามารถแข่งขันได้ในระดับการค้า สากล รวมถึง การนำการจัดการ Supply Practice ไปใช้ในการลดต้นทุนโลจิสติกส์อย่างเป็นระบบและมีดรรชนีชี้วัด (KPI) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ทางโลจิสติกส์
โดยเฉพาะผู้บริหารหรือผู้ประกอบการกิจการ SMEs ซึ่งอยู่ในส่วนต่างจังหวัด (หรือในส่วนกลาง) ควรเร่งศึกษาทำความเข้าใจเป็นการช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจ ในยุคเศรษฐกิจใหม่ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานออกไปสู่ระดับโลก (Global Supply Chain) โดยธุรกิจที่เป็นแกน (Business Core) จะมีความเป็นไปได้มากกว่าในการที่จะเป็นแกนนำในการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรธุรกิจ โดยกระบวนการในการนำระบบ Supply Chain Best Practice เข้ามาใช้ในธุรกิจ อาจประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
โดยเฉพาะผู้บริหารหรือผู้ประกอบการกิจการ SMEs ซึ่งอยู่ในส่วนต่างจังหวัด (หรือในส่วนกลาง) ควรเร่งศึกษาทำความเข้าใจเป็นการช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจ ในยุคเศรษฐกิจใหม่ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานออกไปสู่ระดับโลก (Global Supply Chain) โดยธุรกิจที่เป็นแกน (Business Core) จะมีความเป็นไปได้มากกว่าในการที่จะเป็นแกนนำในการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรธุรกิจ โดยกระบวนการในการนำระบบ Supply Chain Best Practice เข้ามาใช้ในธุรกิจ อาจประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
ประการแรก ธุรกิจที่เป็นแกนนำจะต้องมีการปรับปรุงองค์กรภายใน ให้แต่ละหน่วยงานมีการนำระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์เข้ามาใช้ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ การเคลื่อนย้ายสินค้า การจัดเก็บสินค้า การขนส่งและการกระจายสินค้า
ประการที่สอง สำหรับการบริหารเครือข่ายของซัพพลายเออร์ อาจเลือกคู่ค้าซึ่งมีความพร้อมหรือคู่ค้าที่มีตัวเลขการซื้อสินค้าในระยะเริ่มแรก แผนกจัดซื้อจะมีส่วนสำคัญในการผลักดันในการรวมกลุ่มซัพพลายเออร์เข้ามาไว้ในเครือข่าย
ประการที่สาม ให้มีการจัดตั้งแผนก Customer Service ทั้งในบริษัทและกับคู่ค้า โดยให้ความรู้และความ เข้าใจกับพนักงานซึ่งทำหน้าที่เป็น Customer Service ให้มีการประสานความร่วมมือ ภายใต้วัตถุประสงค์รวมกันในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน และการลดต้นทุนโลจิสติกส์ร่วมกัน
ประการที่สี่ ในแต่ละองค์กรทั้งภายในและภายนอกองค์กรให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศเพื่อลดต้นทุนสินค้าคงคลังและต้นทุนการเคลื่อนย้ายสินค้าและการส่งมอบสินค้าให้เป็นเครือข่ายทางธุรกิจร่วมกัน (Collaborate Business Network)
ประการที่ห้า จะต้องทำเป็นแผนงานในลักษณะเป็นแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Plan) โดยมีเป้าหมายตัวชี้ วัด กรอบเวลาที่ชัดเจน รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นให้เพียงพอ เช่น บุคลากร งบประมาณเพื่อให้ สามารถขับเคลื่อนประสิทธิผลของการดำเนินงานในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน สร้างความได้เปรียบ เพิ่มกำไร ลดต้นทุน เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ทุกธุรกิจในเครือข่าย ซึ่งได้มีการวมกลุ่มเป็นห่วงโซ่ อุปทานเดียวกัน
เป็นที่ทราบดีว่า การค้ายุคปัจจุบันเป็นโลกในยุคของการเปลี่ยนแปลง (World of Chang Era) โดยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งเทคโนโลยี โดยเฉพาะ Information Technology ซึ่งส่งผลกระทบให้โลกเป็นหนึ่งเดียว ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งหมดนี้ มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีทางเลือกสินค้าและบริการที่ ราคาถูกในคุณภาพที่ดีที่สุด ซึ่งผู้ประกอบการหรือผู้บริหารในภาคธุรกิจจะต้องมีกระบวนทัศน์ในการดำเนิน ธุรกิจในยุค Globalization โดยการนำกระบวนการโซ่อุปทานที่เป็นเลิศมาใช้เป็นกลยุทธ์ในองค์กร เพื่อเป็นการเพิ่ม Productivity และเป็นการสร้าง Product Differentiate ที่แตกต่างไปจากคู่แข่งขัน โดยมุ่งไปสู่การขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้ความต้องการของตลาด Demand Driven คือยึด Customers เป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะ
ก่อให้เกิดความพึงพอใจของลูกค้า ทั้งที่เกิดจากการลดต้นทุนรวมกันและเชื่อมั่น (Reliability) จากการส่งมอบที่เป็น Just in Time โดยทุกธุรกิจในโซ่อุปทาน จะต้องมีกระบวนการในการปรับระบบการผลิตไปสู่ระบบ Lean Production เป็นการผลิต โดยให้มีสินค้าคงคลังน้อยที่สุด โดยเปลี่ยนการผลิตจาก Production Base เป็น Consumption Base คือเป็นการผลิตเพื่อ ผู้บริโภค และปรับมาใช้ระบบการผลิตและบริหารแบบใช้ Speed-Based Competition คือใช้ การแข่งขันโดยอาศัยความรวดเร็วในการเคลื่อนย้ายในทุกกระบวนการของ Supply Chain ซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพของ SMEs ให้แข่งขันกับบริษัทข้ามชาติ หรือบริษัทขนาดใหญ่ การที่นำระบบโซ่อุปทานที่เป็นเลิศ (Best Practice) มาใช้จะส่งผลให้ทุกธุรกิจที่อยู่ในกระบวนการ Supply Chain ล้วนแต่ได้ประโยชน์ทั้งสิ้น
ก่อให้เกิดการสร้างคุณค่าจากการบริการและมูลค่าเพิ่มจากตัวสินค้า ที่เรียกว่า Value Creation & Value Added ประกอบด้วย Real Perfect มุ่งเน้นความสมบูรณ์แบบไม่มีที่ติเพื่อให้เกิดการพึงพอใจจากลูกค้า Non Defect Systematic ขจัดความบกพร่องอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิด Best Practice Organization รวมทั้ง สร้างความแตกต่างที่ลอกเลียนแบบได้ยาก เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน\ นอกเหนือจากนี้ "Surplus Utility" หรืออรรถประโยชน์ ส่วนเกิน เพื่อให้องค์กรเพิ่มขีดความสามารถอย่างยั่งยืน (Sustainable Business)
การนำระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานโลจิสติกส์ไปใช้ในลักษณะที่เป็น Best Practice จะส่งผลให้ความร่วมมือแบบพันธมิตรในองค์กรกลายเป็น Value Creation Chain คือสร้างโซ่แห่งคุณค่าให้กับลูกค้า โดยแนววิธีในการสร้างโซ่แห่งคุณค่านั้น สิ่งที่ส่งมอบให้กับลูกค้าจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดหรือความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าทั้งในรูปการบริการและระดับราคาที่เหมาะสม โดยมีการวิเคราะห์กระบวนการอย่างเป็นระบบ เพื่อระบุกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า หรือการให้บริการ และจำแนกระหว่างกิจกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่ม กับกิจกรรมที่ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่ม (ในมุมมองของลูกค้าไม่ใช่ของบริษัทฯ) เพื่อให้แต่ละกิจการสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุด จึงต้องดำเนินการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลต่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยปัจจัยที่จะส่งผลต่อระบบปฏิบัติ "Best Practice" ไปใช้ให้ประสบความสำเร็จ โดยฝ่ายจัดการต้องมีความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงใน การนำระบบปฏิบัติการ Best Practice ไปใช้ให้เกิดผลตามเป้าหมาย โดยจัดให้มีระบบการสนับสนุนและปฏิรูปโครงสร้างองค์กร (Organization Structure) ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ Best Practice โดย เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคลและให้ความสำคัญต่อสถานภาพแวดล้อมขององค์กร (Understanding the Corporate Environment) รวมถึงกำหนดปัจจัยที่ต้องใช้เพื่อให้ระบบปฏิบัติการเป็นเลิศสามารถปฏิบัติได้โดยไม่มีอุปสรรค โดยการจัดทำดัชนีชี้วัดเพื่อค้นหาสาเหตุที่ระบบปฏิบัติการของห่วง โซ่อุปทานขององค์กรจึงประสบความล้มเหลว การประยุกต์ใช้ห่วงโซ่อุปทานซึ่งเป็นเลิศในธุรกิจ (Supply Chain Best Practice) มีขั้นตอนการนำมาใช้เป็นแผนยุทธศาสตร์ (Strategy Plan) ขององค์กร ประกอบด้วยกิจกรรมการวางแผนและการควบคุม การไหลลื่นของวัตถุดิบ จากผู้จัดส่งวัตถุดิบ (Supplier Flow) ไปยังผู้ผลิตและการกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งเชิงต้นทุนและเวลา กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัตถุดิบและสินค้า โดยลักษณะเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าที่เป็น Demand Pull ซึ่งการกระทำดังกล่าวได้จะต้องจัดให้มีการแข่งขัน ข้อมูลสารสนเทศโลจิสติกส์ระหว่างคู่ค้ากับผู้ผลิต ซึ่งมีระบบการจัดการผลิตแบบ Economies of Speed และการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างทันเวลา แบบที่เรียกว่า Real Time Distribution การวางแผนการตลาดร่วมกันทั้งคู่ค้าและลูกค้า โดยจัดให้มีการประสานการทำงานร่วมกับทั้งหน่วยงานภายในองค์กรและภายนอก เพื่อให้สินค้ามีการส่งมอบไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างทันเวลา ดำเนินการให้มีกิจกรรมแบบบูรณาการ (Integration) ในการเชื่อมต่อกันของกิจกรรมต่างๆ ของกระบวนการผลิตและกระบวนการไหลของอุปทาน (Supply) ตั้งแต่วัตถุดิบจนไปถึงผู้บริโภค การประสานรวมกระบวนการทางธุรกิจ (Collaborate) ที่ครอบ คลุมจากผู้จัดส่งวัตถุดิบผ่านระบบธุรกิจอุตสาหกรรมไปสู่ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย โดยมีการส่งผ่านผลิตภัณฑ์การบริการและข้อมูลสารสนเทศควบคู่กันไป การสร้างมูลค่าเพิ่มในตัวผลิตภัณฑ์ (Value Added) การนำเสนอ มูลค่าเพิ่มสู่ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ซึ่งผู้บริหารต้องเข้าใจว่าปัจจัยสำคัญที่การบริหารแบบ "Best Practice" มักเกิดจากการต่อต้าน ภายในองค์กรเอง ทั้งสาเหตุจากการสูญเสียผลประโยชน์ของพนักงานจากการเสีย อำนาจในการสั่งการและจากวัฒนธรรมในองค์กรไม่เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลง
เป็นที่ทราบดีว่า การค้ายุคปัจจุบันเป็นโลกในยุคของการเปลี่ยนแปลง (World of Chang Era) โดยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งเทคโนโลยี โดยเฉพาะ Information Technology ซึ่งส่งผลกระทบให้โลกเป็นหนึ่งเดียว ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งหมดนี้ มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีทางเลือกสินค้าและบริการที่ ราคาถูกในคุณภาพที่ดีที่สุด ซึ่งผู้ประกอบการหรือผู้บริหารในภาคธุรกิจจะต้องมีกระบวนทัศน์ในการดำเนิน ธุรกิจในยุค Globalization โดยการนำกระบวนการโซ่อุปทานที่เป็นเลิศมาใช้เป็นกลยุทธ์ในองค์กร เพื่อเป็นการเพิ่ม Productivity และเป็นการสร้าง Product Differentiate ที่แตกต่างไปจากคู่แข่งขัน โดยมุ่งไปสู่การขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้ความต้องการของตลาด Demand Driven คือยึด Customers เป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะ
ก่อให้เกิดความพึงพอใจของลูกค้า ทั้งที่เกิดจากการลดต้นทุนรวมกันและเชื่อมั่น (Reliability) จากการส่งมอบที่เป็น Just in Time โดยทุกธุรกิจในโซ่อุปทาน จะต้องมีกระบวนการในการปรับระบบการผลิตไปสู่ระบบ Lean Production เป็นการผลิต โดยให้มีสินค้าคงคลังน้อยที่สุด โดยเปลี่ยนการผลิตจาก Production Base เป็น Consumption Base คือเป็นการผลิตเพื่อ ผู้บริโภค และปรับมาใช้ระบบการผลิตและบริหารแบบใช้ Speed-Based Competition คือใช้ การแข่งขันโดยอาศัยความรวดเร็วในการเคลื่อนย้ายในทุกกระบวนการของ Supply Chain ซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพของ SMEs ให้แข่งขันกับบริษัทข้ามชาติ หรือบริษัทขนาดใหญ่ การที่นำระบบโซ่อุปทานที่เป็นเลิศ (Best Practice) มาใช้จะส่งผลให้ทุกธุรกิจที่อยู่ในกระบวนการ Supply Chain ล้วนแต่ได้ประโยชน์ทั้งสิ้น
ก่อให้เกิดการสร้างคุณค่าจากการบริการและมูลค่าเพิ่มจากตัวสินค้า ที่เรียกว่า Value Creation & Value Added ประกอบด้วย Real Perfect มุ่งเน้นความสมบูรณ์แบบไม่มีที่ติเพื่อให้เกิดการพึงพอใจจากลูกค้า Non Defect Systematic ขจัดความบกพร่องอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิด Best Practice Organization รวมทั้ง สร้างความแตกต่างที่ลอกเลียนแบบได้ยาก เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน\ นอกเหนือจากนี้ "Surplus Utility" หรืออรรถประโยชน์ ส่วนเกิน เพื่อให้องค์กรเพิ่มขีดความสามารถอย่างยั่งยืน (Sustainable Business)
การนำระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานโลจิสติกส์ไปใช้ในลักษณะที่เป็น Best Practice จะส่งผลให้ความร่วมมือแบบพันธมิตรในองค์กรกลายเป็น Value Creation Chain คือสร้างโซ่แห่งคุณค่าให้กับลูกค้า โดยแนววิธีในการสร้างโซ่แห่งคุณค่านั้น สิ่งที่ส่งมอบให้กับลูกค้าจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดหรือความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าทั้งในรูปการบริการและระดับราคาที่เหมาะสม โดยมีการวิเคราะห์กระบวนการอย่างเป็นระบบ เพื่อระบุกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า หรือการให้บริการ และจำแนกระหว่างกิจกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่ม กับกิจกรรมที่ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่ม (ในมุมมองของลูกค้าไม่ใช่ของบริษัทฯ) เพื่อให้แต่ละกิจการสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุด จึงต้องดำเนินการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลต่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยปัจจัยที่จะส่งผลต่อระบบปฏิบัติ "Best Practice" ไปใช้ให้ประสบความสำเร็จ โดยฝ่ายจัดการต้องมีความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงใน การนำระบบปฏิบัติการ Best Practice ไปใช้ให้เกิดผลตามเป้าหมาย โดยจัดให้มีระบบการสนับสนุนและปฏิรูปโครงสร้างองค์กร (Organization Structure) ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ Best Practice โดย เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคลและให้ความสำคัญต่อสถานภาพแวดล้อมขององค์กร (Understanding the Corporate Environment) รวมถึงกำหนดปัจจัยที่ต้องใช้เพื่อให้ระบบปฏิบัติการเป็นเลิศสามารถปฏิบัติได้โดยไม่มีอุปสรรค โดยการจัดทำดัชนีชี้วัดเพื่อค้นหาสาเหตุที่ระบบปฏิบัติการของห่วง โซ่อุปทานขององค์กรจึงประสบความล้มเหลว การประยุกต์ใช้ห่วงโซ่อุปทานซึ่งเป็นเลิศในธุรกิจ (Supply Chain Best Practice) มีขั้นตอนการนำมาใช้เป็นแผนยุทธศาสตร์ (Strategy Plan) ขององค์กร ประกอบด้วยกิจกรรมการวางแผนและการควบคุม การไหลลื่นของวัตถุดิบ จากผู้จัดส่งวัตถุดิบ (Supplier Flow) ไปยังผู้ผลิตและการกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งเชิงต้นทุนและเวลา กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัตถุดิบและสินค้า โดยลักษณะเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าที่เป็น Demand Pull ซึ่งการกระทำดังกล่าวได้จะต้องจัดให้มีการแข่งขัน ข้อมูลสารสนเทศโลจิสติกส์ระหว่างคู่ค้ากับผู้ผลิต ซึ่งมีระบบการจัดการผลิตแบบ Economies of Speed และการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างทันเวลา แบบที่เรียกว่า Real Time Distribution การวางแผนการตลาดร่วมกันทั้งคู่ค้าและลูกค้า โดยจัดให้มีการประสานการทำงานร่วมกับทั้งหน่วยงานภายในองค์กรและภายนอก เพื่อให้สินค้ามีการส่งมอบไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างทันเวลา ดำเนินการให้มีกิจกรรมแบบบูรณาการ (Integration) ในการเชื่อมต่อกันของกิจกรรมต่างๆ ของกระบวนการผลิตและกระบวนการไหลของอุปทาน (Supply) ตั้งแต่วัตถุดิบจนไปถึงผู้บริโภค การประสานรวมกระบวนการทางธุรกิจ (Collaborate) ที่ครอบ คลุมจากผู้จัดส่งวัตถุดิบผ่านระบบธุรกิจอุตสาหกรรมไปสู่ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย โดยมีการส่งผ่านผลิตภัณฑ์การบริการและข้อมูลสารสนเทศควบคู่กันไป การสร้างมูลค่าเพิ่มในตัวผลิตภัณฑ์ (Value Added) การนำเสนอ มูลค่าเพิ่มสู่ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ซึ่งผู้บริหารต้องเข้าใจว่าปัจจัยสำคัญที่การบริหารแบบ "Best Practice" มักเกิดจากการต่อต้าน ภายในองค์กรเอง ทั้งสาเหตุจากการสูญเสียผลประโยชน์ของพนักงานจากการเสีย อำนาจในการสั่งการและจากวัฒนธรรมในองค์กรไม่เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น