วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

บทความที่9

บทความที่9
การนำระบบ Supply Chain Management (SCM) มาใช้ในธุรกิจ SMES
ธุรกิจที่เหมาะที่จะนำระบบ Supply Chain Management เข้ามาช่วยในการบริหารธุรกิจ จะมีลักษณะดังนี้
1. เป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง
2. ความต้องการสินค้าของลูกค้ามีความหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
3. ผลิตภัณฑ์/สินค้ามีวงจรชีวิตสั้น
ซึ่งก็เป็นลักษณะหลักๆของธุรกิจเอสเอ็มอี ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังและรองเท้าและธุรกิจอาหาร เป็นต้น โดยในปัจจุบันระบบ Supply Chain Management ถูกพัฒนาให้มีการบริหารที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยนำคอมพิวเตอร์เข้ามา เป็นเครื่องช่วยสำคัญ เรียกว่า ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)

มีบริษัทขนาดใหญ่หลายรายได้นำระบบนี้เข้ามาใช้งาน โดยหลักการเบื้องต้อนของ Supply Chain Management เป็นเรื่องของ การจัดการวัตถุดิบเป็นหลักก่อน ต่อมาก็จะเป็นเรื่องของการดูแลสินค้าคงคลัง และเป็นที่นิยมมากขึ้น จนเป็นเรื่องของการตอบสนอง ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และทั้งหมดจะใช้บาร์โค้ดเป็นตัวหลักเพื่อเป็นการประหยัดเวลา เพราะหากสต๊อกของผู้ที่รับสินค้าคุณไปขายหมดลงเมื่อไหร ระบบ Supply Chain จะแจ้งคุณทันทีทางคอมพิวเตอร์ และแจ้งต่อไปยังซัพพลายเออร์ที่ขายวัตถุดิบ ให้กับคุณ ส่งต่อไปให้โกดังที่ทำกล่องกระดาษบรรจุสินค้าคุณโดยจะส่งต่อไปหมดทุกที่ เช่นหากมีคนไปซื้อสินค้าของคุณ ในห้างสรรพสินค้า เมื่อไปถึงแคชเชียร์ แคชเชียร์อ่านรหัสบาร์โค้ด ระบบก็จะตัดสต๊อกทันที ซึ่งระบบจะเป็นแบบนี้ตลอดไปทำให้ง่าย ต่อการควบคุมสต๊อกและการทำงาน จึงสามารถลดต้นทุนค่าแรงงานคนงาน ค่าจ้างพนักงานขายและต้นทุนอื่นๆ ได้อีกมากมาย

ดังนั้นธุรกิจเอสเอ็มอีที่กำลังเติบโตสามารถนำแนวคิดนี้มาใช้ได้เช่นกัน อาจเริ่มต้นจากการบริหารให้แต่ละหน่วยงานภายในองค์กร สามารถส่งมอบชิ้นงานที่มีคุณภาพให้กับหน่วยงานถัดไปได้อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ฝ่ายจัดซื้อ ประสานงาน และพัฒนา ความสัมพันธ์กับ supplier ให้สามารถจัดส่งสินค้าได้ ฝ่ายผลิต วางแผนการผลิตสินค้า/บริการ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ฝ่ายจัดส่ง พัฒนาและค้นหาวิธีการในการจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าได้ตามเวลาที่ตกลงกัน แผนกคลังสินค้ามีการบริหารพัสดุคงคลังให้หมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เก็บสต๊อกมากหรือน้อยเกินไป เมื่อหน่วยงานภายในปฏิบัติได้ดีแล้วหลังจากนั้น อาจขยายออกไปสู่ supplier ภายนอกได้

สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการนำระบบ Supply Chain Management มาใช้บริหารงานความต้องมี
เข้าใจความหมายและหลักการของห่วงโซ่อุปทาน
มีวินัยในการวางแผนและการบริหารตารางกิจกรรมต่างๆ
มีระดับของการสื่อสารและการเชื่อมโยงของแผนและข้อมูลต่างๆระหว่างหุ้นส่วนที่ดีเยี่ยม
มีวิสัยทัศน์ (Logistics Vision) ที่มุ่งที่จะลดต้นทุนและยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า
รู้ว่าจะบริหารและจัดการโลจิสติกส์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมธุรกิจ
การใช้และการพัฒนาเทคโนโลยี
การพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันตลอดห่วงโซ่
การสร้างวัฒนธรรมที่เน้น Serviced and Integrated Business Mind

แนวทางในการจัดการปัญหาทางโลจิสติกส์
การเพิ่มระดับการให้บริการ การลดต้นทุน
พัฒนากลยุทธ์การให้บริการลูกค้า
ลดความน่าจะเป็นที่สินค้าจะขาดมือ
ลดระยะเวลาน่าส่งสินค้า
ใช้พื้นที่ขายให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสร้าง ความดึงดูดลูกค้า

ความต้องการเพิ่มกำไร ลดต้นทุน
ลดสินค้าคงคลังและกิจกรรมที่ไม่เกิดประโยชน์
ขจัดปัญหาคอขวดและความล่าช้าในการจัดส่ง
กำหนดจำนวน/ที่ตั้ง/ขีดความสามารถของโรงพักสินค้าให้เหมาะสม
ใช้การสั่งซื้อวัตถุดิบคราวละมากๆ เพื่อได้ส่วนลด
ใช้อุปกรณ์/ยานพาหนะให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ลดต้นทุนโดยรวมของธุรกิจ
ดังนั้นเมื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่นำระบบ Supply Chain Management เข้ามาช่วยในการบริหารงานจะทำให้สามารถลดต้นทุนได้ และสามารถลดเวลาการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีสินค้าตอบสนองผู้ซื้อและผู้ขายได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลดีต่อธุรกิจ อย่างมาก และเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปก็ต้องเปลี่ยนตาม เช่น มีการออกสินค้าใหม่ มีบริการให้ดีขึ้น ทำให้ทั้งผู้ประกอบการ และผู้บริโภคมีความพึงพอใจสูงสุด เพราะสินค้าสามารถไปถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น