วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทความที่5

1.       อี-คอมเมิร์ซไทยสดใส คนวงในชี้ธุรกิจยังโต
    เผยตลาดยังมีโอกาสและช่องทาง ด้วยข้อได้เปรียบในการเข้าถึงลูกค้าและข้อมูล วอนผู้ประกอบการแสดงตัวตน เรียกความมั่นใจจากผู้บริโภค ...
  กระแสความนิยมในการทำธุรกิจผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า e-Commerce กำลังได้รับความสนใจและตอบรับเป็นอย่างดี ทั้งจากผู้ประกอบการและผู้บริโภค ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่กลายเป็นปัจจัยสนับสนุนให้สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว สวนกระแสธุรกิจและบริการประเภทอื่น แต่ปริมาณที่เพิ่มขึ้น กลับไม่ใช่สิ่งสำคัญในเชิงธุรกิจ เนื่องจาก คุณภาพ ความซื่อสัตย์ ความครบครัน และตัวตนที่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคพิจารณาและให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ...
   นายทรงยศ คันธมานนท์กรรมการสมาคมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และกรรมการผู้จัดการ บริษัท แกรนด์แพลนเน็ท เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด เปิดเผยว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นธุรกิจ e-Commerce เนื่องจากธุรกิจออนไลน์ใช้ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำกว่าธุรกิจอื่น ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจในการดำเนินธุรกิจ โดยสามารถสร้างโอกาสและลูกค้าได้ดีกว่าธุรกิจอื่น จากการสำรวจธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย พบว่า สินค้าที่ได้รับความนิยม ได้แก่ สินค้าประเภทแฟชั่น คอมพิวเตอร์ ท่องเที่ยว ยานยนต์ และสินค้าเฉพาะกลุ่ม ตามลำดับ ถึงอย่างไร ไม่อยากให้มองว่าธุรกิจออนไลน์เป็นเพียงกระแสใหม่รองรับคนว่างงานเท่านั้น
 กรรมการสมาคมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย แสดงทัศนคติต่อว่า ภาพรวมของผู้ประกอบการ e-Commerce ในประเทศไทย ยังมีนวัตกรรมไม่โดดเด่น ทั้งความคิดสร้างสรรค์และรูปแบบในการขาย สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงและยอมรับ คือ ลูกค้าจำนวนมากเข้ามาค้นหาสินค้าจากอินเทอร์เน็ต เนื่องจากต้องการความแปลกใหม่ของสินค้าและบริการ ดังนั้น การบริการบนธุรกิจออนไลน์ รวมถึงกระบวนการดูแลธุรกิจ จึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการควรเร่งสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค และยึดถือจุดประสงค์ในการดำเนินธุรกิจที่แท้จริงว่า e-Commerce คือการทำธุรกิจประเภทหนึ่ง ไม่ใช่เพียงมุ่งแต่สร้างเว็บไซต์ให้ดูดีและน่าสนใจเท่านั้น นอกจากนี้ รูปแบบการขายถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากสินค้าบนอินเทอร์เน็ตถือเป็นการขายตรงประเภทหนึ่ง ผู้ขายจึงจำเป็นต้องจัดโปรโมชัน เพื่อดึงดูดและรักษาฐานลูกค้าเอาไว้
  นายทรงยศ บอกอีกว่า ช่องทางที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงธุรกิจ กลายเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ผู้ประกอบการได้พบกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบปัญหาและความพึงพอใจของลูกค้าได้โดยละเอียด ขณะที่การอัพเดทความเคลื่อนไหวและการแสดงตัวตนที่ชัดเจนบนเว็บไซต์ เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคให้ความสนใจเป็นอย่างมาก หากผู้ประกอบการต้องการแข่งขันในตลาดออนไลน์ ควรใช้กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจระยะยาว เพื่อประกอบธุรกิจด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อลูกค้า ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ส่งให้ลูกค้าควรมีคุณภาพและคุณสมบัติตรงตามที่โฆษณา ทำให้ลูกค้าเชื่อใจและเกิดกลยุทธ์ในการบอกต่อ แต่สิ่งที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าได้มากที่สุด คือ การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อถึงแสดงตัวตนและสร้างความน่าเชื่อถือ
ด้าน นายประสิทธิ์ วรฉัตราวณิช ผู้อำนวยการสื่อใหม่ และ e-Commerce บริษัท เอ.อาร์. อินฟอร์เมชั่น แอนด์ พับลิเคชั่น จำกัด ให้ข้อมูลว่า ธุรกิจบนโลกออนไลน์เปรียบเสมือนการทำงานกับคนแปลกหน้า ถือเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการที่ต้องเปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นลูกค้า กลายเป็นเพื่อน และต่อยอดไปสู่การทำธุรกิจในอนาคต แต่การประกอบธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้แตกต่างจากธุรกิจประเภทอื่น ที่ต้องอาศัยความเข้าใจสภาพตลาดและลูกค้า ส่วนข้อดีของการดำเนินธุรกิจบนโลกออนไลน์ คือ โอกาสในการเข้าถึงของลูกค้า เนื่องจาก มีคนจำนวนมากทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย ผู้ประกอบการควรใช้ช่องทางดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ในการเข้าถึงผู้บริโภค เนื่องจาก ในปัจจุบัน มีเครื่องมือต่างๆ จำนวนมากที่ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจ และสร้างความชัดเจนในการจัดกลุ่มลูกค้า

ผู้อำนวยการสื่อใหม่ และ e-Commerce ของเอ.อาร์.ฯ แสดงความเห็นต่อว่า จำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคข่าวสารที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค โดยนิยมบริโภคข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ถือเป็นโอกาสสำคัญของผู้ดำเนินธุรกิจออนไลน์ ที่จะเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น ดังนั้น ข้อความที่ปรากฎอยู่บนเว็บไซต์ จึงควรมีความกระชับ น่าสนใจ ต้องมีความยาวเพียงพอที่จะนำเสนอส่วนสำคัญ และต้องสั้นพอที่จะอธิบายรายละเอียดได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ตำแหน่งในการวางเนื้อหาถือเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ประกอบการควรนำเสนอในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และเพิ่มความโดดเด่นให้สิ่งนั้นเป็นพิเศษ อาจเลือกใช้สีหรือขนาดที่โดดเด่น เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้าให้เข้าไปยังหน้าร้านของตน เนื่องจาก การแสดงความชัดเจนและความเป็นตัวตน ถือเป็นเรื่องสำคัญบนโลกอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน 
นายประสิทธิ์ บอกอีกว่า การทำธุรกิจ e-Commerce ควรมีความชัดเจน สังเกตได้ และง่ายต่อการเข้าใจ ต้องยอมรับว่า ผู้บริโภคในปัจจุบันนิยมเลือกซื้อสินค้าที่มีเรื่องราวและไม่ได้คำนึงเพียงแค่ตัวผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการจึงควรสร้างความน่าสนใจ ด้วยการนำเสนอกลยุทธ์หรือสอดแทรกหลักการคิด และปรับปรุงสินค้า เพื่อสร้างความน่าสนใจและดึงดูดลูกค้า ขณะเดียวกัน ต้องสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุม แม้ว่า การทำตลาดออนไลน์ จะมีขั้นตอนและวิธีการที่หลากหลายตามยุคสมัยและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป แต่กระบวนการต่างๆ ยังจำเป็นต้องเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ ดังนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการควรปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย คือ การบริการ อาจต้องละทิ้งรูปแบบเก่าที่เคยปฏิบัติและเพิ่มเติมสิ่งใหม่ เพื่อสร้างความหลากหลายและครบถ้วนทางธุรกิจ
สิ่งที่ผู้ประกอบการในแวดวงธุรกิจออนไลน์ฝากไว้ ทั้งช่องทางในการดำเนินธุรกิจ หลักการ แนวคิด และกลยุทธ์ต่างๆ รวมถึง การแสดงตัวตนที่ชัดเจนของผู้ประกอบการต่อลูกค้า ถือเป็นสิ่งสำคัญที่คนธุรกิจไม่ควรมองข้าม ขณะที่ความแปลกใหม่ของผลิตภัณฑ์ ที่ผู้ขายจำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมล้ำสมัย อาจช่วยให้เกิดโอกาส รายได้ และผลักดันให้ธุรกิจกลายเป็นที่รู้จัก ภายใต้ความหวังของผู้ประกอบการ e-Commerce ที่ต้องการเห็นธุรกิจดังกล่าวเติบโตอย่างมั่นคง และไม่ได้เป็นเพียงกระแสนิยมชั่วครั้งชั่วคราว...
 บทความจาก : ไทยรัฐ

บทความที่4

1.       บทความทางวิชาการ   เรื่อง  แนวคิดการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้
       ปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนเกิดความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีความพร้อมทาง ICT กับประเทศที่ขาดแคลนที่เรียกว่า Digital Divide  ในขณะเดียวกันประเทศทั่วโลกต่างมุ่งสร้างสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge Based Society) จนเกิดความแตกต่างระหว่างสังคมที่สมบูรณ์ด้วยความรู้ กับสังคมที่ด้อยความรู้ ที่เรียกว่า Knowledge Divide  ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา ต่างก็เร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศ  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริม การเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียน และการเรียนรู้ตามอัธยาศัย  ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ  ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล  การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน แต่การให้ความสนใจกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียนก็อาจหลงทางได้  ถ้าผู้บริหารสถานศึกษายึดถือการมีเทคโนโลยีเป็นจุดหมายปลายทาง ของการศึกษา  แทนที่จะยึดถือผลการเรียนรู้เป็นจุดหมาย ปรากฏการณ์ของการหลงทางจะพบเห็นในการประชาสัมพันธ์ถึงความพร้อมทางระบบคอมพิวเตอร์ การมีเครือข่ายโยงเข้า Internet สะดวก  ผู้เรียนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีและมีโอกาสใช้ได้เต็มที่ แต่ในบางสถานศึกษาผู้เรียนอาจใช้เทคโนโลยีไม่คุ้มค่า ขาดเป้าหมายในการเรียนรู้สาระสำคัญตามหลักสูตรวิชาต่าง ๆ และขาดโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการทางปัญญาอย่างแท้จริง
เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน
 ปกติเทคโนโลยีจะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน 3 ลักษณะ คือ
                         1.  การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น
                         2.  การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ความรู้  ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะบางประการ โดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น  ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet  เป็นต้น
                         3.  การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่การเรียนรู้ด้วยระบบ การสื่อสาร 2 ทาง (Interactive) กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง (Simulation) เป็นต้น
แนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้

                   1.  การใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญา
                         กระบวนการทางปัญญา (Intellectual Skills) คือ กระบวนการที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ
                                (1)  การรับรู้สิ่งเร้า (Stimulus)
                                (2)  การจำแนกสิ่งเร้าจัดกลุ่มเป็นความคิดรวบยอด (Concept)
                                (3)  การเชื่อมโยงความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ (Rule) ด้วยวิธีอุปนัย (Inductive)
                                (4)  การนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ใช้ด้วยวิธีนิรนัย (Deductive)
                                (5)  การสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ (Generalization)
                                ระบบคอมพิวเตอร์มีสมรรถนะสูงที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดในกระบวนการทางปัญญานี้ โดยครูอาจจัดข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ในวิชาที่สอน  ให้ผู้เรียนฝึกรับรู้ แสวงหาข้อมูล นำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นความคิดรวบยอดและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแสดงแผนผังความคิดรวบยอด (Concept Map) โยงเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ ซึ่งผู้สอนสามารถจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนฝึก การนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ จนสรุปเป็นองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล บันทึกสะสมไว้เป็นคลังความรู้ของผู้เรียนต่อไป
                   2.  การใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา
                         การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดนั้น สามารถออกแบบแผนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำโครงงานแสวงหาความรู้ตามหลักสูตร หาความรู้ในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ หรือเพื่อแก้ปัญหา (Problem-Based Learning) การเรียนรู้ลักษณะนี้จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเด็นเรื่อง (Theme) ตามมาด้วยการวางแผนกำหนดข้อมูลหรือสาระที่ต้องการ ผู้สออาจจัดบุญชีแสดงแหล่งข้อมูล (Sources) ทั้งจากเอกสารสิ่งพิมพ์ และจาก Electronic Sources เช่น  ชื่อของ Web ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นคำตอบ สร้างเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ  โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วย และครูช่วยกำกับผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ต้องการ  ทั้งนี้ครูจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยชี้แนะทิศทางของการแสวงหาความรู้หรือแนะนำผู้เรียนให้พัฒนาความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพผลการเรียนรู้                             


แนวคิดของบิลล์ เกตส์ (Bill Gate) เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา

                   1.  การเรียนไม่ได้มีเฉพาะในห้องเรียน ในโลกยุคปัจจุบัน คนสามารถที่จะเรียนได้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway) ซึ่งกำลังจะมีบทบาท และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการศึกษาของมนุษย์
                   2.  ผู้เรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล บิลล์ เกตส์ ได้อ้างทฤษฎีอาจารย์วิชาการศึกษาที่ว่า เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันจึงจำเป็นจะต้องจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะเด็กแต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ และการมองโลกแตกต่างกันออกไป
                   3.  การเรียนที่ตอบสนองความต้องการรายคน  การศึกษาที่สอนเด็กจำนวนมาก โดยรูปแบบที่จัดเป็นรายชั้นเรียน ในปัจจุบันไม่สามารถที่จะตอบสนองความต้องการของเด็กเป็นรายคนได้ แต่ด้วยอำนาจ และประสิทธิภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การเรียนตามความต้องการของแต่ละคน ซึ่งเป็นความฝันของนักการศึกษามานานแล้วนั้น สามารถจะเป็นจริงได้โดยมีครูคอยให้การดูแลช่วยเหลือ และแนะนำ
                   4.  การเรียนโดยใช้สื่อประสม  ในอนาคตห้องเรียนทุกห้องจะมีสื่อประสมจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เด็กสามารถเลือกเรียนเรื่องต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ
                   5.  บทบาทของทางด่วนข้อมูล กับการสอนของครู  ด้วยระบบเครือข่ายทางด่วนข้อมูล      จะทำให้ได้ครูที่สอนเก่ง จากที่ต่าง ๆ มากมายมาเป็นต้นแบบ และสิ่งที่ครูสอนนั้นแทนที่จะใช้กับเด็กเพียงกลุ่มเดียว ก็สามารถสร้าง Web Site ของตนขึ้นมาเพื่อเผยแผ่ จะช่วยในการปฏิวัติการเรียนการสอนได้มาก
                   6.  บทบาทของครูจะเปลี่ยนไป ครูจะมีหลายบทบาทหน้าที่ เช่น  ทำหน้าที่เหมือนกับครูฝึกของนักศึกษาคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำ เป็นเพื่อนของผู้เรียน เป็นทางออกที่สร้างสรรค์ให้กับเด็ก  และเป็นสะพานการสื่อสารที่เชื่อมโยงระหว่างเด็กกับโลก ซึ่งอันนี้ก็คือบทบาทที่ยิ่งใหญ่ของครู
                   7.  ความสัมพันธ์ระหว่าง นักเรียน ครู และผู้ปกครอง  จะใช้ระบบทางด่วนข้อมูลคอมพิวเตอร์  ช่วยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง นักเรียน ครู และผู้ปกครอง เช่น  การส่ง E-mail จากครู ไปถึงผู้ปกครอง
                   ความคิดของบิลล์ เกตส์นับเป็นการเปิดโลกใหม่ด้านการศึกษาด้วยการนำระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ และทางด่วนข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลกเข้ามาเป็นตัวกระตุ้น     การปฏิวัติระบบการเรียนการสอนที่มีอยู่เดิม ถึงแม้ว่าเขาจะย้ำว่าห้องเรียนยังคงมีอยู่เหมือนเดิม เพื่อลดการต่อต้านด้านเทคโนโลยี  แต่จากรายละเอียดที่เขานำเสนอ จะพบว่าการเรียนการสอนในอนาคตจะต้องเปลี่ยนไปมาก  ความหวังของนักศึกษาทุกคนก็คือ การเปิดโอกาสให้เด็กสามารถเรียนได้เป็นรายบุคคลโดยมีการวางแผนร่วมกับครู ถ้าคนในวงการศึกษาไม่ปรับเปลี่ยนจะล้าหลังกว่าวงการอื่น ๆ อย่างแน่นอน


การจัดปัจจัยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้

                   ปัจจัยพื้นฐาน คือ การสร้างความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีสรรถนะและจำนวนเพียงพอต่อการใช้งานของผู้เรียน รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีได้ตลอดเวลา จะเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้   สิ่งที่ควรเป็นปัจจัยเพิ่มเติม คือ
                         1.  ครูสร้างโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
                                ปัจจัยที่จะผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า คือ การที่ครูออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้กระบวนการแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากการสังเกตในสถานการณ์จริง การทดลอง การค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์ และจากสื่อ Electronic เช่น จาก Web Sites เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการทำโครงงานอิสระสนองความสนใจ เป็นกิจกรรมที่ต้องฝึกปฏิบัติจาก Software สำเร็จรูป เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการบันทึก วิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอรายงานด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
                         2.  ครู และผู้เรียนจัดทำระบบแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
                                ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลสารสนเทศ (Information Sources) เป็นตัวเสริมที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มคุณค่าของระบบเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ครู และผู้เรียนควรช่วยกันแสวงหาแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีเนื้อหาสาระตรงกับหลักสูตร หรือสนองความสนใจของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวบรวมแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เป็น Software ชื่อของ Web Sites รวมถึงการลงทุนจัดซื้อ Software จากแหล่งจำหน่าย การจ้างให้ผู้เชี่ยวชาญจัดทำ หรือจัดทำพัฒนาขึ้นมาเองโดยครู และนักเรียน
                         3.  สถานศึกษาจัดศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
                                ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Learning Resources Center) เป็นตัวชี้วัดสำคัญประการหนึ่งของศักยภาพของสถานศึกษาที่จะส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของครู และผู้เรียน  ปกติมักนิยมจัดไว้เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด จนเกิดคำศัพท์ว่าห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) หรือ E – Library  จะมีคุณประโยชน์ในการมีแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า ในวิทยาการต่าง ๆ ทั้งในลักษณะสื่อสำเร็จ เช่น Software แถบบันทึกวีดิทัศน์ รวมถึง CD – Rom  และ CAI หรือ ชื่อ Web Sites ต่าง ๆ ซึ่งควรจัดทำระบบ Catalog และดัชนี ให้สะดวกต่อการสืบค้น
                         4.  การบริการของกรมหรือหน่วยงานกลางทางเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
                                กรมต้นสังกัดหรือหน่วยงานกลางด้านเทคโนโลยีควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษาด้วยการบริการด้านข้อมูลสารสนเทศ เช่น จัดทำเอกสารรายเดือน รายงาน Software ในท้องตลาด แจ้งชื่อ Web Sites ใหม่ ๆ พร้อมสาระเนื้อหาโดยย่อ จัดทำคลังข้อมูลความรู้ Knowledge Bank เพื่อการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ผ่านสื่อ Electronic หรือสื่อทางไกลผ่านดาวเทียมเผยแพร่สนองความต้องการ และความสนใจของผู้เรียนเป็นประจำ นอกจากนี้การรวบรวมผลงานของครู และนักเรียนในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี ที่เรียกว่า Best Practices จะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับครู และนักเรียนทั่วไปที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน


บทสรุป

                   มีผู้กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ IT นั้น การจัด T : Technology ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง เพราะถ้ามีงบประมาณก็จัดหาได้ และสอนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีเป็นโดยไม่ยาก  แต่สิ่งที่ขาดแคลนคือ   I : Information หรือสารสนเทศ ที่น่าจะเป็นเนื้อหาของการใช้เทคโนโลยี เพราะถ้าขาดข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนรู้ และขาดการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว  ตัวระบบเทคโนโลยีก็ไร้ความหมาย และสูญค่าคุณประโยชน์ และความคาดหวังว่า เมื่อมีผู้ไปเยี่ยมเยือนสถานศึกษาใดในอนาคต ก็น่าจะได้พบความสมบูรณ์ของระบบข้อมูลสารสนเทศที่หลากหลาย ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของระบบเทคโนโลยี และได้พบผลงานของครู และผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่แสดงถึงการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนการสอน

บทความที่ 3

1.       บทความรายวิชา 213240 บทที่3 สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ สำหรับ ธุรกิจภาคเอกชน
ทุกวันนี้ธุรกิจภาคเอกชนทั้งที่มีขนาดใหญ่และขนาดเล็กต้องการสารสนเทศด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน ในงานการทำธุรกิจนั้น บริษัทและผู้บริหารต้องการสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ตัดสินใจและแก้ปัญหา หากไม่มีระบบสารสนเทศก็อาจจะเกิดความผิดพลาดก่อให้เกิดความเสียหายได้ด้วยเหตุนี้สารสนเทศจึงมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากในองค์กรธุรกิจ
ระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจ
ทุกวันนี้ธุรกิจภาคเอกชนใช้ระบบสารสนเทศในทุกสายงาน ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับประมวลผล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา และการปฏิบัติการของทั้งหน่วยงาน
สายงานที่ต้องการระบบสารสนเทศ
*งานบัญชี
*งานการเงิน
*งานการตลาด
*งานผลิต
*งานทรัพยากรมนุษย์
*งานอื่นๆ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support System หรือ DSS)
DSS ได้รับการออกแบบให้ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงมีลักษณะการทำงานงานแบบโต้ตอบ(interactive)ซึ่งผู้ใช้แต่ละคนสามารถควบคุมได้
โดยทั่วไประบบ DSSมีลักษณะสำคัญดังนี้
-สนับสนุนการจัดการทุกระดับ
-สนับสนุนการตัดสินใจแก้ปัญหาทุกขั้นตอน
-ผู้ใช้ปรับแต่งให้เข้ากับเงื่อนไขได้
-สร้างใช้ได้ง่ายและช่วยให้เกิดความรู้
-มักใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
ความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยทำให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมาย

-เพิ่มผลผลิต
-ลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย
-ปรับปรุงการตัดสินใจให้มีคุณภาพมากขึ้น
-เสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
-พัฒนางานประยุกต์กลเชิงยุทธ์ใหม่

แหล่งที่มา       http://www.hu.ac.th/academic/article/IT/Chairu.htm

บทความที่ 2

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาคำว่า "เทคโนโลยี”(Technology) มาจากรากศัพท์ "Technic" หรือ "Techno" ซึ่งมีความหมายว่า วิธีการ หรือการจัดแจงอย่างเป็นระบบ รวมกับ "logy" ซึ่งแปลว่า ศาสตร์หรือ วิทยาการดังนั้น คำว่า "เทคโนโลยี" ตามรากศัพท์จึงหมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการ หรือการจัดแจงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดระบบใหม่และเป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ที่ตั้งใจไว้ได้ ซึ่งก็มีความหมายตรงกับความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรม คือ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นการจัดแจงหรือการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพมาใช้ในกระบวนการของการศึกษา ซึ่งเป็นพฤติกรรมศาสตร์ โครงสร้างมโนมติของเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องประกอบด้วย มโนมติทางวิทยาศาสตร์กายภาพ มโนมติทางพฤติกรรมศาสตร์ โดยการประสมประสานของมโนมติอื่นที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพทางวิศวกรรมและทางเคมีได้เครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์ สามารถผลิตหนังสือตำราต่างๆ ได้ และจากการประยุกต์หลักพฤติกรรมศาสตร์ทางจิตวิทยา จิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้ได้เนื้อหาในลักษณะเป็นโปรแกรมขั้น ย่อย ๆ จากง่ายไปหายาก เมื่อรวมกันระหว่างวิทยาศาสตร์กายภาพและพฤติกรรมศาสตร์ในตัวอย่างนี้ ทำให้เกิดผลิตผลทางเทคโนโลยีการศึกษาขึ้น คือ "ตำราเรียนแบบโปรแกรม"อีกตัวอย่างหนึ่งการประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพเกี่ยวกับแสง เสียงและอิเล็กทรอนิกส์บนพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ใช้ระบบเลขฐานสองทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อประสมประสานกับผลการประยุกต์ทาง พฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล หลักการวิเคราะห์งาน และทฤษฎีสื่อการเรียนการสอนแล้วทำให้ได้ผลผลิตทางเทคโนโลยีการศึกษา คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction: CAI)จากข้อพิจารณาดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษามีสองลักษณะที่เน้นหนักแตกต่างกัน คือ1. เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การประยุกต์หลักการวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ให้เป็นวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการเสนอ แสดง และถ่ายทอดเนื้อหาทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความหมายนี้พัฒนามาจากความคิดของกลุ่มนักโสต-ทัศนศึกษา2. เทคโนโลยีการศึกษามีความหมายโดยตรงตามความหมายของเทคโนโลยี คือ ศาสตร์แห่งวิธีการ หรือการประยุกต์วิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษา โดยคำว่าวิทยาศาสตร์ในที่นี้มุ่งเน้นที่วิชาพฤติกรรมศาสตร์ เพราะถือว่าพฤติกรรมศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งเช่นเดียวกับวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เป็นต้น
ที่มา

 http://www.nmc.ac.th/database/file_science/unit1.doc

บทความที่1

ระบบสารสนเทศกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
    
 ปัจจุบันการบริหารในวงการต่าง ๆ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กันมากขึ้นโดยเฉพาะในการบริหารธุรกิจ   ซึ่งมีการแข่งขันกันสูงต่างก็พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารเพื่ออำนวย            ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการแก่ลูกค้า  ทำให้ลูกค้าพึงพอใจให้มากที่สุดเป็นการดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการในธุรกิจของตน  และเป็นที่น่ายินดีที่วงการศึกษาทั้งในระดับชาติและระดับสถาบันการศึกษา            ก็มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในสถานศึกษามากขึ้น  โดยเฉพาะในยุคของการปฏิรูปการศึกษาโดยมุ่งหวังให้การปฏิรูปการศึกษาประสบความสำเร็จ  ในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
                                ระบบสารสนเทศ (information)  หมายถึง  กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลการประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในรูปสารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงสุด  และการจัดเก็บรักษาอย่างมีระบบเพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้  และในการจัดทำระบบสารสนเทศนั้น  (กรมวิชาการ 2545:9)  การจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารในสถานศึกษามีความจำเป็นและเป็นประโยชน์มากสำหรับบุคลากรทุกคนในองค์การ  ทำให้มีข้อมูลประกอบการพัฒนางาน  สร้างทางเลือกใหม่ ๆ ในการดำเนินงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารทั้งในระดับสูงและระดับรองลงมา  มีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลสารสนเทศประกอบการตัดสินใจวางแผนดำเนินการต่าง ๆ
                                สุริยะพร  ฮ่องช่วน, (2550:1)  กล่าวไว้ว่า  สารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  มีดังนี้
                                1.  ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา  ประกอบด้วย  ข้อมูลและสารสนเทศ           ที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมของสถานศึกษา  สภาพเศรษฐกิจ   การเมือง  สังคม  ความต้องการของชุมชน          สภาพการบริหารจัดการตามโครงสร้างและภารกิจ  เช่น ปฏิทินปฏิบัติงานของสถานศึกษา  เป็นต้น
                                2.  ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน  เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด  สารสนเทศส่วนนี้เกิดจากผู้สอนหรือผู้ปฏิบัติงานเป็นส่วนใหญ่  เช่น  ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน             ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน  ผลงานของผู้เรียน  เป็นต้น
                                3.  ระบบสารสนเทศการบริหารวิชาการ  เป็นการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผล  การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  เช่น  การมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรและการเรียนการสอน  บรรยากาศการเรียนการสอน  เป็นต้น
                                4.  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ  สารสนเทศประเภทนี้ต้องมีการประมวลผลรวม มีการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างถูกต้องและทันสมัย  จึงจะมีความหมายต่อการจัดการและ การบริหารงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ  เช่น  งานธุรการ  งานการเงิน  งานบุคลากร  งานพัฒนา    แหล่งการเรียนรู้  เป็นต้น


อ้างอิงจาก   http://www.gotoknow.org/blog/suko/168187

ธุรกิจที่นำระบบสารสนเทศมาใช้แล้วประสบความสำเร็จ

ธุรกิจที่นำระบบสารสนเทศมาใช้แล้วประสบความสำเร็จ
บริษัท : Bangchak
โปรแกรมที่ใช้ : Oracle
รูปแบบการนำไปใช้ : บางจากนำระบบ Oracle Human Capital Management (HCM) มาใช้ในองค์กร โดยยกระดับการบริหารจัดการด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาช่วยในการ พัฒนาพนักงานของบริษัทฯ สำหรับแผนการพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคล เช่น ระบบเงินเดือน ระบบบันทึกเวลา ระบบการรับสมัครงาน ระบบการจ้างพนักงาน ระบบการจ่ายผลตอบแทน ระบบประวัติพนักงาน ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นต้น
ประโยชน์ที่ได้รับ : Oracle (HCM) สามารถช่วยยกระดับการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กร ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตามนโยบาย e-HR (Electronic Human Resource) เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพสูงรองรับการขยายตัวธุรกิจ ช่วยให้พนักงานทุกระดับจึงสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น สามารถเชื่อมโยงงานบริหารบุคคลทุกด้าน จึงสะดวก รวดเร็วและมั่นใจในความถูกต้องของข้อมูลจากศูนย์กลาง ผู้บริหารระดับสูงสามารถเรียกดูข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจได้แบบเรียลไท ม์ ช่วย

กรณีศึกษานกแอร์


กรณีศึกษา   สายการบินนกแอร์  เปิดตัวนวัตกรรมการบริการลูกค้าผ่านiphone
      นกแอร์คือสายการบินราคาประหยัดที่มุ่งมั่นที่จะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้การเดินทางโดยเครื่องบินไม่เป็นสิ่งที่หรูหราราคาแพงสำหรับคนไทยอีกต่อไป  ประชาชนคนไทยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความอบอุ่นในครอบครัวมากขึ้น  เพราะจากการไปมาหาสู่กันได้ง่ายขึ้นและมีความประหยัดโดยปราศจากข้อจำกัดจากการเดินทางโดยเครื่องบิน  ในราคาที่สูงเกินกว่าจะใช้บริการได้  ดังนั้นเราจึงมุ่งมั่นเพื่อการให้บริการที่ดีเยี่ยมและสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้โดยสารที่เป็นลูกค้าของเรา
     นอกจากการให้บริการแก่ลูกค้าทั่วไปผ่านทางเว็บไซต์ของนกแอร์แล้ว   ปัจจุบันนกแอร์ได้เพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารผ่านnokair iphone  Application  เพื่อเพิ่มช่องทางมอบความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารที่ใช้iphone,  ipodtouchและ  ipad  ไม่ว่าจะเป็นการเช็คราคาค่าโดยสาร  ตรวจสอบตารางการบิน  ดูข้อมูลการเดินทาง  เช็กอินและเลือกที่นั่ง  หรือแม้กระทั่งการจองตั๋วโดยสารและชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสหรือ  ATM  ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายยิ่งขึ้น  อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นE- Boarding  Pass  เพื่อแสดงและขึ้นเครื่องได้ทันที  เป็นการตอกย้ำการเป็นสายการบินที่ไฮเทคที่สุดของประเทศไทยอย่างแท้จริง  นอกจากนั้นคุณยังสามารถส่งข่าวสารการอัปเดตข้อมูล  เกี่ยวกับการเดินทางของคุณกับนกแอร์ผ่านfacebookและTwitter  เท่านี้  การเดินทางกับนกแอร์ก็เป็นเรื่องง่ายๆ  เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส
     ปัจจุบันลูกค้าที่เป็นผู้โดยสารของนกแอร์  สามารถสำรองที่นั่งผ่านทางเว็บไซต์ของนกแอร์  www.nokair.comหรือผ่านCall  Center  ซึ่งผู้โดยสารสามารถเลือกชำระค่าโดยสารได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการชำระผ่านบัตรเครดิตทางเว็บไซต์ผ่านCall หรือเลือกชำระเป็นเงินสดผ่านทางเคาน์เตอร์เซอร์วิสใน  7-  eleven  ทุกสาขาทั่วประเทศรวมถึงการเลือกชำระผ่านตู้  ATM  นอกจากนี้แล้ว  ยังมีนวัตกรรมใหม่ล่าสุด  คือการเลือกใช้iphone  ในการเลือกเดินทางไปกับนกแอร์
คำถามจกากรณีศึกษา
1.                ทำไมนกแอร์จึงตัดสินใจพิจารณาเลือกใช้ iphone  กับการดำเนินธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชั่นแบบไร้สายในครั้งนี้จงอธิบายพร้อมเหตุผลประกอบ
เพื่อแข่งขันกับบริษัทสายการบินอื่นๆที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารให้แก่ผู้โดยสาร
2.                E- Boarding  pass  คืออะไร  นำมาใช้ประโยชน์อย่างไร  และช่วยประหยัดต้นทุนได้อย่างไร
คือตั๋วเครื่องบินออนไลน์มีประโยชน์คือช่วยเพิ่มความสะดวกสบายโดยไม่ต้องเดินทางไปจองตั๋ว  ช่วยประหยัดในด้านเวลา และค่าน้ำมันแก่ผู้โดยสารและประหยัดต้นทุนด้านกระดาษ
3.                จกการดำเนินธุรกรรมของนกแอร์ผ่านiphone จัดเป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซในรูปแบบใด
จัดเป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซบนเว็บ