วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทความที่1

ระบบสารสนเทศกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
    
 ปัจจุบันการบริหารในวงการต่าง ๆ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กันมากขึ้นโดยเฉพาะในการบริหารธุรกิจ   ซึ่งมีการแข่งขันกันสูงต่างก็พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารเพื่ออำนวย            ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการแก่ลูกค้า  ทำให้ลูกค้าพึงพอใจให้มากที่สุดเป็นการดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการในธุรกิจของตน  และเป็นที่น่ายินดีที่วงการศึกษาทั้งในระดับชาติและระดับสถาบันการศึกษา            ก็มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในสถานศึกษามากขึ้น  โดยเฉพาะในยุคของการปฏิรูปการศึกษาโดยมุ่งหวังให้การปฏิรูปการศึกษาประสบความสำเร็จ  ในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
                                ระบบสารสนเทศ (information)  หมายถึง  กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลการประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในรูปสารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงสุด  และการจัดเก็บรักษาอย่างมีระบบเพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้  และในการจัดทำระบบสารสนเทศนั้น  (กรมวิชาการ 2545:9)  การจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารในสถานศึกษามีความจำเป็นและเป็นประโยชน์มากสำหรับบุคลากรทุกคนในองค์การ  ทำให้มีข้อมูลประกอบการพัฒนางาน  สร้างทางเลือกใหม่ ๆ ในการดำเนินงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารทั้งในระดับสูงและระดับรองลงมา  มีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลสารสนเทศประกอบการตัดสินใจวางแผนดำเนินการต่าง ๆ
                                สุริยะพร  ฮ่องช่วน, (2550:1)  กล่าวไว้ว่า  สารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  มีดังนี้
                                1.  ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา  ประกอบด้วย  ข้อมูลและสารสนเทศ           ที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมของสถานศึกษา  สภาพเศรษฐกิจ   การเมือง  สังคม  ความต้องการของชุมชน          สภาพการบริหารจัดการตามโครงสร้างและภารกิจ  เช่น ปฏิทินปฏิบัติงานของสถานศึกษา  เป็นต้น
                                2.  ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน  เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด  สารสนเทศส่วนนี้เกิดจากผู้สอนหรือผู้ปฏิบัติงานเป็นส่วนใหญ่  เช่น  ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน             ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน  ผลงานของผู้เรียน  เป็นต้น
                                3.  ระบบสารสนเทศการบริหารวิชาการ  เป็นการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผล  การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  เช่น  การมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรและการเรียนการสอน  บรรยากาศการเรียนการสอน  เป็นต้น
                                4.  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ  สารสนเทศประเภทนี้ต้องมีการประมวลผลรวม มีการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างถูกต้องและทันสมัย  จึงจะมีความหมายต่อการจัดการและ การบริหารงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ  เช่น  งานธุรการ  งานการเงิน  งานบุคลากร  งานพัฒนา    แหล่งการเรียนรู้  เป็นต้น


อ้างอิงจาก   http://www.gotoknow.org/blog/suko/168187

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น