วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 8 ระบบสารสนเทศทางการเงิน

สรุปบทที่ 8 ระบบสารสนเทศทางการเงิน

    ระบบสารสนเทศทางการเงิน หมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานของนักบริหารธุรกิจในการตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน  รวมทั้งการจัดสรรและควบคุมทรัพยากรทางการเงินของธุรกิจ
การจัดการทางการเงิน
การเงิน คือ หน้าที่งานหนึ่งของธุรกิจซึ่งมีส่วนผลักดันให้การดำเนินงานด้านอื่นๆเป็นไปอย่างราบรื่น
การจัดการทางการเงิน หมายถึง กระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาไว้ และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการตัดสินใจทางการเงินเพื่อสร้างความมั่นคั่งสูงสุดให้แก่ธุรกิจและผู้ถือหุ้น
ขอบเขตงานทางการเงิน
1.                ตลาดการเงิน จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินหรือแหล่งจัดหาเงินทุนอื่นๆ ได้แก่ หลักทรัพย์และตราสารทางการเงินของธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยจำแนกเป็น
1.1        ตลาดเงิน หมายถึง ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์ รวมทั้งตราสารทางการเงินที่อายุไม่เกิน 1 ปี
1.2        ตลาดทุน หมายถึง ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์ รวมทั้งตราสารทางการเงินที่มีอายุมากกว่า 1 ปี โดยจำแนกเป็น
ตลาดแรก คือ ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์แก่ผู้ซื้อในครั้งแรก
ตลาดรอง คือ ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์จากผู้ซื้อครั้งแรกสู่ผู้ซื้อครั้งต่อๆไป
2.                การลงทุน เป็นการตัดสินใจลงทุนโดยคำนึงถึงการใช้เงินทุนที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดขององค์การ   ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ  การขาย หรือการถือครองสินทรัพย์
3.                การเงินทางธุรกิจ เป็นการจัดการทางการเงินภายในองค์การ  เช่น การให้สินเชื่อทางการค้า การจัดการเงินสด การจัดหาเงินทุน รวมทั้งการจัดโครงสร้างทางการเงิน
หน้าที่ทางการเงิน
ธุรกิจจะต้องตัดสินใจทางการเงินร่วมกับฝ่ายงานต่างๆเพื่อที่จะตอบสนองภารกิจสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1.              การพยากรณ์และการวางแผน  คือ หน้าที่ด้านการพยากรณ์ถึงความต้องการเงินทุนในอนาคต และดำเนินการวางแผนทางการเงินตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจ
2.              การจัดหาเงินทุน คือ หน้าที่ด้านการจัดหาเงินทุน เพื่อรองรับการลงทุนตามความต้องการเงินทุนและแผนที่ได้กำหนดไว้ โดยคัดเลือกแหล่งเงินทุน  ซึ่งมีต้นทุนเงินทุนต่ำที่สุดจะถือเป็นแหล่งเงินทุนที่ดีที่สุด
3.              การจัดการลงทุน คือ หน้าที่ในการจัดสรรเงินทุนเพื่อรองรับความเจริญเติบโตของธุรกิจ
4.              การจัดการเงินทุน สำหรับเงินทุนที่จัดหามา แต่ยังไม่ได้รับการจัดสรรให้ลงทุนในสินทรัพย์ใดๆจะต้องมีการจัดการเงินทุน  ประเภทของการบริหารเงินทุนมี 3 ประเภท คือ การจัดการสภาพคล่อง การจัดการเติบโต  การจัดการความเสี่ยง
เป้าหมายทางการเงิน
1.              กำไรสูงสุด เน้นถึงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรโดยไม่คำนึงถึงช่วงเวลาการวัดผลกำไรของบริษัทแต่อย่างใด ซึ่งต้องมีการตั้งเป้าหมายที่แน่นอนและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
2.              ความมั่งคั่งสูงสุด  หากธุรกิจใดมีการปรับปรุงกำไรสูงสุดให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมุ่งเน้นถึงมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญที่สูงขึ้น  รวมทั้งอัตราเงินปันผลที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย
การตัดสินใจทางการเงิน
1.                การตัดสินใจด้านการลงทุน เป็นการตัดสินใจที่สำคัญที่สุด โดยเริ่มต้นจาการกำหนดทรัพย์สินที่บริษัทจำเป็นต้องใช้ และจำนวนเงินลงทุนในทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งจะบ่งบอกถึงขนาดของบริษัท
2.                การตัดสินใจด้านการจัดหาเงินทุน  จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
1.                ส่วนผสมของเงินทุนที่จำเป็นต้องมีการจัดหาไว้ภายในกิจการ
2.                แหล่งเงินทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
3.                สัดส่วนระหว่างหนี้สินและทุนที่เหมาะสม
4.                ประเภทของการจัดหาเงินทุน 2 ประเภท คือ   การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน    หรือการออกหลักทรัพย์ประเภททุนเพื่อจำหน่าย
3.                การตัดสินใจด้านนโยบายเงินปันผล เป็นการตัดสินใจถึงจำนวนเงินที่จัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัท  โดยมีการกำหนดอัตราการจ่ายเงินปันผลขึ้นที่สามารถใช้เป็นตัวกำหนดกำไรสะสมที่บริษัทยังคงอยู่หลังจากจ่ายเงินปันผลเสร็จสิ้นแล้ว
สารสนเทศทางการเงิน  หมายถึง สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการเงิน  ซึ่งจะต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ
สารสนเทศทางการเงินสามารถจำแนกได้เป็น 3  ประเภท
1.              สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ  คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการปฏิบัติงานด้านการรับและจ่ายเงินสด และการจัดหาและการจัดหาเงินทุน ตลอดจนการจัดหาเงินทุนในสินทรัพย์ ดังนี้ สารสนเทศด้านกระแสเงินสด สารสนเทศด้านเงินทุน สารสนเทศด้านการลงทุน
2.              สารสนทศเชิงบริหาร คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานการบริหารและจัดการทางการเงิน ดังนี้ สารสนเทศด้านพยากรณ์ทางการเงิน สารสนเทศด้านงบประมาณเงินสด  สารสนเทศด้านงบประมาณลงทุน  สารสนเทศด้านการวิเคราะห์ทางการเงิน สารสนเทศด้านควบคุมทางการเงิน
3.              สารสนเทศภายนอกองค์การ  คือ สารสนเทศที่ได้จากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ สารสนเทศจากตลาดการเงิน   สารสนเทศด้านนโยบายของรัฐ
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
1.                ระบบวางแผนทางการเงิน คือ ระบบที่มุ่งเน้นถึงการจัดการสินทรัพย์ทางการเงินที่เหมาะสมโดยมีการวางแผนด้านการจัดหาเงินลงทุนจากแหล่งต่างๆ ตลอดจนมีการใช้เงินทุนที่จัดหามาได้เพื่อการดำเนินงานและการลงทุนภายในกิจการ  ซึ่งจำแนกได้เป็น 3 ระบบ ดังนี้
1.1       ระบบพยากรณ์ทางการเงิน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นอันดับแรกของการวางแผนทางการเงิน โดยจำเป็นต้องใช้สารสนเทศจากภายนอก
1.2       ระบบงบประมาณเงินสด คือ ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นใช้งานด้านการวางแผนทางการเงินในลำดับต่อไป
1.3       งบประมารลงทุน คือระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นใช้งานในส่วนการตัดสินใจลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดหรืออีกนัยหนึ่งคือการใช้เงินทุนของธุรกิจเพื่อการจัดหาและจัดการสินทรัพย์ขององค์การ
2.                ระบบจัดการทางการเงิน  มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น  ซึ่งจะต้องอาศัยปัจจัยหลายด้านประกอบกันเพื่อการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์โดยเฉพาะในส่วนของการจัดหาเงินทุนและการจัดสรรเงินทุน  สามารถจำแนกได้เป็น 4  ระบบย่อย ดังนี้
2.1       ระบบจัดหาเงินทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้งานด้านการจัดหาเงินทุน ตามแผนการจัดหาเงินทุนที่เป็นผลลัพธ์จากระบบพยากรณ์ทางการเงิน
2.2       ระบบจัดการเงินทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนงานด้านการใช้และบริหารเงินทุน หลังจากที่องค์การจัดหาเงินทุนนั้นๆ เข้ากิจการเรียบร้อยแล้ว
2.3       ระบบจัดการเงินลงทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนงานด้านการจัดการเงินลงทุนหลังจากที่มีการวางแผนงบประมาณลงทุนเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะต้องดำเนินการจัดการเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆของกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ
2.4       ระบบจัดการเงินสด คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้ในงานด้านการจัดสรรเงินทุนในส่วนของสภาพคล่องอันเนื่องมาจากการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นการบริหารสินทรัพย์ที่อยู่ในรูปแบบเงินสด
3.                ระบบประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน  เป็นระบบพื้นฐานของระบบสารสนเทศทางการเงินโดยเฉพาะในส่วนของการรับและจ่ายเงินสดภายในธุรกิจทั้งด้านของการจัดหาสินทรัพย์ การลงทุนและการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายของหน่วยงานต่างๆ
4.                ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานด้านการวางแผนทางการเงิน การจัดหาเงินทุน การจัดสรรเงินทุน และเงินลงทุนต่างๆเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5.                ระบบควบคุมทางการเงิน  จำแนกไดเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
5.1       การควบคุมงบประมาณ งบประมาณที่ถูกวางแผนไว้แต่เริ่มแรกมักจะอยู่ในรูปแบบงบประมาณรายปี
5.2       การตรวจสอบมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าฐานะทางการเงินของธุรกิจซึ่งนำเสนอในงบการเงินมีความถูกต้อง
5.3       การบริหารผลการดำเนินงานทางธุรกิจ ในปัจจุบันธุรกิจมักบูรณาการวิธีต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ของการบริหารผลการดำเนินงานทางธุรกิจซึ่งเป็นเทคนิคสมัยใหม่ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการควบคุมทางการเงิน
เทคโนโลยีทางการเงิน
1.              โปรแกรมสำเร็จรูปทางการเงิน คือ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งซึ่งถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานด้านการประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน ในบางครั้งอาจรวมอยู่กับโปรแกรมระบบอื่น
2.              ระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ซ  ตัวอย่างระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ซมีดังนี้
2.1       ระบบการแลกเปลี่ยนหุ้นส่วนกลาง
2.2       ระบบจัดการสกุลเงินตราต่างประเทศ
2.3       ระบบหุ้นกู้อิเล็กทรอนิกส์
2.4       ระบบนำเสนอเช็คคืนอิเล็กทรอนิกส์
2.5       ระบบนำเสนอใบเรียกเก็บเงินและการชำระตามใบเรียกเก็บเงินอิเล็กทรอนิกส์
3.              เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้
3.1       บัตรเครดิต คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งสำหรับรับชำระหนี้ค่าสินค้าหรือบริการ ซึ่งผู้ใช้จะต้องจัดทำบัตรเครดิตกับองค์การหรือสถาบันทางการเงินภายในวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ
3.2       บัตรเดบิต คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งระบบจะยินยอมให้ร้านค้าโอนเงินจากบัญชีผู้ซื้อเข้าสู่บัญชีผู้ขายทันทีที่เกิดรายการค้าขึ้น
3.3       ตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์ คือ บริการของธนาคารประเภทหนึ่งที่เริ่มจากให้ผู้ขายเช่าตู้ไปรษณีย์ อีกทั้งมอบอำนาจให้แก่ธนาคารเป็นผู้เปิดตู้ไปรษณีย์และนำเช็คไปเข้าบัญชีของผู้ขาย
3.4       เช็คที่ได้รับอนุมัติล่วงหน้า เป็นระบบที่อาจนำมาใช้แทนที่ตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเร่งระยะเวลาเรียกเก็บเงินที่รวดเร็วขึ้นเนื่องจากสามารถแปลสภาพเช็คเป็นเงินสดได้ในทันทีที่เช็คครบตามกำหนดจ่ายเงิน และไม่จำเป็นต้องมีการลงนามผู้สั่งจ่ายเงินเหมือนเช็คทั่วไป
3.5       เช็คอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอีกบริการหนึ่งของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่จะทำการใส่วงเงินเข้าสู่กระเป๋าสตังค์อิเล็กทรอนิกส์ของลูกค้า
3.6       การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ นับเป็นวิธีให้บริการโอนเงินแบบดั้งเดิมของธนาคารผ่านสำนักหักบัญชีอัตโนมัติ หรือการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร  โดยธนาคารของผู้ซื้อจะทำการโอนเงินเข้าสู่บัญชีผู้ขายผ่านธนาคารของผู้ขายอัตโนมัติ
3.7       ระบบธนาคารศูนย์กลาง   มักใช้สำหรับธุรกิจที่มีสำนักงานขายกระจายอยู่ลายแห่งทั่วประเทศ และยังมีการจัดตั้งสำนักงานที่เป็นศูนย์เก็บเงินประจำภูมิภาคเพื่อรับชำระเงินจากลูกค้าในพื้นที่ใกล้เคียงและสามารถนำเช็คไปขึ้นเงินกับสาขาของธนาคารในท้องถิ่นนั้นๆ
4.              การทำเหมืองข้อมูลทางการเงิน
4.1       ระบบการเข้าถึงรายงานทางการเงินและเศรษฐกิจ
4.2       ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน สามารถทำได้โดยใช้โปรแกรมแผ่นตารางทำการ หรือ โปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจที่เน้นการตัดสินใจทางการเงินโดยเฉพาะ
4.3       ระบบบริหารโซ่คุณค่าทางการเงิน  คือ พื้นทีอีกด้านนึ่งของการวิเคราะห์ทางการเงิน ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปฏิบัติการโดยมีการวิเคราะห์ในทุกๆหน้าที่งานด้านการเงินรวมทั้งหน้าที่ด้านการค้าเงินระหว่างประเทศ



(  เอกสารอ้างอิง    รุจิจันทร์    พิริยะสงวนพงศ์.  สารสนเทศทางธุรกิจ.  )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น