วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 2 ระบบสารสนเทศ

·      ระบบ  หมายถึง  กลุ่มของสิ่งซึ่งมีลักษณะประสานเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน  ตามหลักแห่งความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันด้วยระเบียบของธรรมชาติหรือหลักเหตุผลทางวิชาการ
·       ระบบสารสนเทศ  หมายถึง  เซตหรือการรวมตัวของกระบวนการหลายกระบวนการ  สำหรับงานด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล  การประมวลผลเพื่อปรับรูปแบบของข้อมูลให้เข้าสู่รูปแบบของสารสนเทศ  ตลอดจนการกระจายสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์จากการประมวลผลสู่ผู้ใช้ระบบเพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจ   ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลประกอบด้วยชุด  ฮาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์  ฐานข้อมูล  โทรคมนาคม  บุคลากรและกระบวนการ  ที่มีการรวมตัวกันเพื่อการเก็บรวบรวม  การจัดการ  การจัดเก็บ  ตลอดจนการประมวลผลข้อมูลให้เข้าสู่รูปแบบของสารสนเทศ
·       แบบจำลองของสารสนเทศ  ประกอบด้วยส่วนย่อยของแบบจำลองระบบสารสนเทศ  7  ส่วนดังนี้
·              ผู้ใช้ขั้นปลาย  คือผู้ใช้สารสนเทศที่อยู่ภายในหน่วยงานต่างๆทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ  ซึ่งมีความต้องการใช้สารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์จาการประมวลผลของระบบสารสนเทศโดยปกติประกอบด้วยผู้ใช้  2  กลุ่ม
o   กลุ่มที่  1  ผู้ใช้ภายนอก  คือผู้ใช้ที่ประกอบด้วย   เจ้าหนี้เงินกู้  ผู้ถือหุ้น  นักลงทุน
o   กลุ่มที่  2  ผู้ใช้ภายใน   คือผู้บริหารระดับต่างๆขององค์การ  ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติการด้านต่างๆโดยมุ่งเน้นถึงความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้แต่ละรายเป็นสำคัญ
·            ต้นทางข้อมูลหรือแหล่งข้อมูลของ   คือ   ธุรกรรมทางการเงินที่นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศซึ่งประกอบด้วยข้อมูล  2  ส่วนดังนี้
o   ส่วนที่  1  ต้นทางข้อมูลภายนอก  คือธุรกรรมทางการเงินที่ได้รับจากภายนอกธุรกิจ
o   ส่วนที่  2  ต้นทางข้อมูลภายใน  คือธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนหรือความเคลื่อนไหวของทรัพยากรภายในองค์การ
·            การรวบรวมข้อมูล  เป็นขั้นตอนแรกซึ่งมีความสำคัญที่สุดของการดำเนินการภายในระบบสารสนเทศ  มุ่งเน้นวัตถุประสงค์ด้านการรับข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่างๆโดยเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้อง  สมเหตุสมผล  ครบถ้วนสมบูรณ์และปราศจากข้อผิดพลาดใดๆทั้งสิ้น
·           การประมวลผลข้อมูล  หลังจากที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จสิ้นแล้ว  จะต้องทำการประมวลผลข้อมูลทั้งในรูปแบบที่ง่ายและรูปแบบที่มีความซับซ้อน  จำแนกการประมวลผลได้  2  รูปแบบคือ
o   รูปแบบที่  1  การประมวลผลแบบกลุ่ม
o   รูปแบบที่  2  การประมวลผลแบบทันที
·           การจัดการฐานข้อมูล  ข้อมูลที่จัดเก็บในฐานข้อมูล  จะประกอบด้วยหน่วยเก็บข้อมูลที่เรียงลำดับจากหน่วยเล็กที่สุดไปหาหน่วยใหญ่ที่สุด  คือ  ลักษณะประจำ  ระเบียนและแฟ้มข้อมูล  ในส่วนการจัดการฐานข้อมูล  จะเกี่ยวข้องกับงานขั้นพื้นฐาน  3   งาน  คือ   การจัดเก็บ    การค้นคืน  และการลบ
·           การก่อกำเนิดสารสนเทศประกอบด้วยกระบวนการแปลโปรแกรม   การจัดข้อมูล  การกำหนดรูปแบบ  รวมทั้งการนำเสนอสารสนเทศต่อผู้ใช้  โดยสารสนเทศที่ใช้มักอยู่ในรูปแบบของเอกสารปฏิบัติงาน  เช่น  ใบสั่งยา
·          ผลป้อนกลับจะอยู่ในรูปแบบของรายงานที่เป็นผลลัพธ์  ซึ่งถูกส่งกลับไปยังระบบในฐานะของต้นทางข้อมูลภายในหรือภายนอกก็ได้  และยังอาจถูกนำไปใช้ในฐานะข้อมูลเริ่มต้นหรือข้อมูลสำหรับการปรับเปลี่ยนกระบวนการ
o   หากส่วนประกอบทั้ง  7  ส่วน  มีการรวมตัวกันอย่างเหมาะสมจะสนองตอบวัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศได้  3  ประการ
§  ประการที่  1  การสนับสนุนหน้าที่งานด้านการจัดการ
§  ประการที่  2  การสนับสนุนหน้าที่งานด้านการตัดสินใจ
§  ประการที่  3  การสนับสนุนหน้าที่งานด้านปฏิบัติการ
o   บทบาทของระบบสารสนเทศ
·       โซ่คุณค่า  จะประกอบด้วยกิจกรรมหลักของการจัดการต้นทางการผลิตและการจัดการตามทาง  ในส่วนของการผลิตสินค้าและบริการ  โดยรวมกิจกรรมหลักทั้ง  3  ส่วน  ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนที่สัมพันธ์กัน
o   การจัดการต้นทาง  ต้นทางของการผลิตสินค้าและบริการ  จะเกี่ยวข้องกับการจัดการวัตถุดิบในส่วนของการจัดหาวัตถุดิบ
o   การผลิต  สำหรับการแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าหรือบริการขั้นสุดท้าย  โดยมีการนำวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนการผลิตต่างๆมาประกอบกันเป็นสินค้าสำเร็จรูป
o   การจัดการตามทาง  การจัดการตามทิศทางการไหลของสินค้าสำเร็จรูปจนถึงปลายทางของการส่งมอบให้ลูกค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับหน่วยเก็บสินค้าสำเร็จรูป  โลจิสติกส์ขาออก  การตลาดและการขาย  ตลอดจนงานด้านการบริการลูกค้า  โดยมีการใช้ระบบสารสนเทศด้านหน่วยเก็บและค้นคืนสินค้าอัตโนมัติ ด้านวางแผนการกระจายสินค้า
·       ระบบคุณค่า  จะเป็นการเชื่อมโยงกิจกรรมภายใต้โซ่คุณค่าทั้งภายในและภายนอกองค์การ  ภายใต้รูปแบบโซ่อุปทาน  โดยการใช้ระบบสารสนเทศ  โดยการใช้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือเชื่อมต่อโซ่คุณค่าขององค์การกับโซ่คุณค่าขององค์การภายนอก
·       การสนับสนุนงานขององค์การ   บทบาทของระบบสารสนเทศในส่วนของการใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานขององค์การภายใต้โซ่คุณค่าและระบบคุณค่า   3  ลักษณะ
o   การสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจ  ในบางครั้งลูกค้าขององค์การจำเป็นจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ  โดยเฉพาะในส่วนการสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจและการดำเนินงานภายในองค์การ
o   การสนับสนุนการตัดสินใจ  ระบบสารสนเทศจะให้ความสนับสนุนต่อผู้จัดการร้านค้าและนักธุรกิจมืออาชีพในส่วนของการตัดสินใจที่ดีขึ้น
o   การสนับสนุนความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน  สารสนเทศที่ดียังมีส่วนช่วยสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันเหนือธุรกิจอื่น  เนื่องด้วยองค์การมีการนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ร่วมกับกานทำงานของระบบสารสนเทศ
·       การเพิ่มมูลค่าให้องค์การ  พิจารณาได้เป็น  3  ระยะ  ดังนี้
§  ระยะที่  1  การลดต้นทุนและการเพิ่มประสิทธิผล  ระยะนี้องค์การนี้ได้มุ่งเน้นด้านการนำสารสนเทศที่ได้รับจากระบบประยุกต์ด้านต่างๆมาเป็นข้อมูล  เพื่อพัฒนางานหรือปรับปรุงการทำงาน
o   ระยะที่  2  การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน  ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันที่จะช่วยสร้างผลประโยชน์ในระยะยาวขององค์การที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน  ทั้งนี้  ต้องอาศัยกลยุทธ์ทางธุรกิจมาช่วยเสริม
o   ระยะที่  3 การจัดการเชิงผลปฏิบัติงาน  ระยะนี้นอกจากจะมุ่งเน้นการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการลดต้นทุน  และการสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันแล้ว  ยังมีการใช้สารสนเทศร่วมกับมาตรการวัดผลการปฏิบัติงานเพื่อสร้างตัวชี้วัดประสิทธิผลจาการใช้งานระบบสารสนเทศด้วย
o   วิวัฒนาการของระบบสารสนเทศ
§  การใช้ระบบสารสนเทศในเริ่มแรกของธุรกิจ  จะเป็นการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานเป็นประจำซ้ำๆกันภายใต้ธุรกรรมจำนวนมาก  ในเวลาต่อมาองค์การได้พัฒนาระบบสารสนเทศในรูปแบบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยมีการใช้ระบบเพื่อเข้าถึง  จัดโครงสร้าง  สรุป  และแสดงผลสารสนเทศที่มีส่วนช่วยสนับสนุนในการตัดสินใจประจำวันภายใต้การทำงานของแผนกงานตามหน้าที่
o   ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบที่แตกต่างกันของระบบสนับสนุนด้านต่างๆมีดังนี้
·        แต่ละระบบมีลักษณะจำเพาะที่จำแนกได้เป็นระบบ
·       มีการเชื่อมต่อสายงานด้านสารสนเทศระหว่างระบบต่างๆ
·       ระบบสารสนเทศแต่ละระบบสามารถเชื่อมต่อกันภายใต้รูปแบบของระบบลูกผสม
·       เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี   ความสัมพันธ์และการประสานงานระหว่างระบบสารสนเทศในรูปแบบที่ต่างกัน  โดยสามารถเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง  และในอนาคต  รูปแบบความสัมพันธ์อาจเปลี่ยนแปลงไป
§  การจำแนกระบบสารสนเทศ
§  ประเภทของระบบสารสนเทศโดยใช้เกณฑ์ระดับขององค์การโดยมีการจัดโครงสร้างตามลำดับชั้นที่ประกอบด้วยระบบย่อยหลายระบบจากล่างขึ้นบนเป็น   3  ประการ  ดังนี้
·       ระบบสารสนเทศตามหน้าที่งาน  ในส่วนระบบสารสนเทศตามหน้าที่งานจะเป็นการรองรับการทำงานของแผนกงานต่างๆซึ่งจำแนกความรับผิดชอบตามหน้าที่งานขององค์การ
·       ระบบสารสนเทศวิสาหกิจ  จะเกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อระบบประยุกต์ของแต่ละหน้าที่งานเข้ากับระบบสารสนเทศวิสาหกิจ  ซึ่งมักเรียกว่า  การบูรณาการระบบสารสนเทศ
§  จำแนกประเภทระบบสารสนเทศที่ใช้ภายในวิสาหกิจโดยใช้เกณฑ์ระดับผู้ใช้งานภายในวิสาหกิจได้เป็น  2 ประเภท  คือ
§  ประเภทที่  1  ระบบสารสนเทศส่วนบุคคล
§  ประเภทที่  2  ระบบสารสนเทศกลุ่มงาน
·       ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ   การใช้สารสนเทศไม่ได้จำกัดแค่ภายในองค์การเท่านั้นยังมีการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศระหว่างสององค์การขึ้นไปเข้าด้วยกัน  ซึ่งนิยมเรียกกันว่า  ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การหรือไอโอเอส  โดยแหล่งที่ตั้งขององค์การอยู่ภายในประเทศเดียวกันหรือคนละประเทศก็ได้  ซึ่งหากแหล่งที่ตั้งขององค์การอยู่คนละประเทศแล้ว  อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ระบบสารสนเทศครอบคลุมทั่วโลก    การพัฒนาไอโอเอส  จึงมุ่งตอบสนองแรงกดดันทางธุรกิจ  2  ประการ
§  ประการที่  1   ความปรารถนาในการลดต้นทุน  รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพ  และความทันต่อเวลา  ภายใต้กระบวนการทางธุรกิจ  ที่เกี่ยวข้อง
§  ประการที่  2  ความต้องการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศขององค์การกับระบบสารสนเทศของหุ้นส่วนธุรกิจ  เพื่อผลประโยชน์ดังนี้
·       การลดต้นทุนธุรกรรมซึ่งเกิดขึ้นประจำ
·       การเพิ่มคุณภาพและขจัดข้อผิดพลาดของสายงานด้านสารสนเทศ
·       การลดช่วงเวลาของการทำคำสั่งซื้อของลูกค้าให้บรรลุผล
·       การกำจัดกระบวนการที่ใช้กระดาษทั้งในส่วนของการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพตลอดจนการลดต้นทุนกระดาษ
·       การโอนย้ายและการประมวลผลสารสนเทศทำได้ง่ายขึ้น
·       การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับลูกค้าและผู้จัดหา
·       การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของไอโอเอส   มักจะปรากฏรูปแบบ  8  รูปแบบ  ดังนี้
·       ระบบ การค้าแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ
·       ระบบสนับสนุนการค้าแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ
·       ระบบครอบคลุมทั่วโลก
·       การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์
·       กรุ๊ปแวร์
·       การส่งสารแบบรวม
·       ฐานข้อมูลใช้ร่วมกัน
·       ระบบที่ใช้สนับสนุนบริษัเสมือน
·       จำแนกระบบย่อยของไอโอเอส  ได้เป็น  2  ระบบ คือ  การจัดการหุ้นส่วนสัมพันธ์และการพาณิชย์แบบรวมมือ
o   ระบบสารสนเทศบนเว็บ
·       อินเตอร์เน็ต  บางครั้งอาจเรียกง่ายๆว่า เน็ต  คือ  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก  โดยผู้ใช้ที่อยู่    คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งๆสามารถรับสารสนเทศจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้
·       อินทราเน็ต   ในส่วนแนวคิดของอินทราเน็ต  จะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับองค์การและอินเตอร์เน็ต  ซึ่งอินทราเน็ต  คือการใช้เทคโนโลยีเว็บสำหรับการสร้างเครือข่ายส่วนตัว  ซึ่งมักถูกจำกัดการใช้งานเฉพาะภายในองค์การ  โดยใช้เครือข่ายเฉพาะที่หรือระบบระบบแลน  ร่วมกับโพรโทคอลทีซีพี/ไอพี   เพื่อสร้างแบบฉบับของระบบแลนที่มีความสมบูรณ์
·       เว็บศูนย์รวมวิสาหกิจ  คือเว็บไซต์ที่ติดตั้งเกตเวย์  เพื่อใช้คบคุมการเข้าถึงสารสนเทศของบริษัทจากจุดเพียงจุดเดียว  โดยมีการรวมตัวของสารสนเทศจากหลายๆแฟ้มข้อมูลและส่งผ่านสารสนเทศไปยังผู้ใช้
·       เอกซ์ทราเน็ต  ถูกเชื่อมต่อกับอินทราเน็ต  โดมักมีการเสริมกลไกความมั่นคงทางอินเทอร์เน็ต  และฟังก์ชันงานเท่าที่เป็นไปได้   ตลอดจนมีการสร้างรูปแบบเครือข่ายเสมือนจริง  ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้ทางไกล
·       ระบบอีคอมเมิร์ซบนเว็บ  มักจะมีความเกี่ยวข้องกับธุรกรรมต่างๆ  ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ระบบอิเล็กทรอนิกส์  ทั้งในรูปแบบของธุรกิจสู่ธุรกิจ  ธุรกิจสู่ผู้บริโภค  ธุรกิจสู่หน่วยสาธารณะ  ตลอดจนผู้บริโภคสู่หน่วยสาธารณะ
·       ตลาดอิเล็กทรอนิกส์   คือ  เครือข่ายการโต้ตอบและความสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนสารสนเทศผลิตภัณฑ์และบริการ  ตลอดจนการรับชำระเงินเมื่อสถานที่ซื้อขายถูกเปลี่ยนรูปแบบจากอาคารทางกายภาพ  เป็นเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์
·       การแลกเปลี่ยนอิเล็กทรอนิกส์  เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของตลาดอิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งก็คือสถานที่ซื้อขายสาธารณะบนเว็บ
·       คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่และการพาณิชย์เคลื่อนที่      คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่   คือตัวอย่างระบบคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบสำหรับลูกจ้างเคลื่อนที่และอื่นๆ   การพาณิชย์เคลื่อนที่หรืออีคอมเมิร์ซ คือ   การสร้างธุรกรรม    สถานที่ใดๆและเวลาใดก็ได้ภายใต้ระบบสื่อสารไร้สาย




(  เอกสารอ้างอิง    รุจิจันทร์    พิริยะสงวนพงศ์.  สารสนเทศทางธุรกิจ.  )



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น