วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 4 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ

แนวคิดและองค์ประกอบ
แนวคิด
      ปัจจุบันองค์การธุรกิจได้นำระบบสารสนเทศมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงและต้นทุนการใช้งานต่ำ  เช่น  ระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ต  เป็นต้น  จึงก่อให้เกิดสารสนเทศหลากหลายรูปแบบ
องค์ประกอบ
1.             ฐานข้อมูล  หมายถึง  หน่วยเก็บและรวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์   ซึ่งพร้อมสำหรับการให้บริการเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
2.             การสื่อสาร  หมายถึง  เครื่องมือที่ช่วยด้านการสรรหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆและส่งผ่านข้อมูลมาจัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นแหมาย
3.             เครือข่าย  หมายถึง  การเชื่อมโยงข้อมูลภายในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  โดยการเชื่อมโยงระบบประยุกต์และฐานข้อมูลเข้าด้วยกัน  อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถสื่อสารกันได้
4.             การวิเคราะห์ข้อมูล  หมายถึง  กระบวนการที่ใช้วิเคราะห์และประมวลผลข้อมวลให้อยู่ในรูปแบบของสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ตัดสินใจได้ทันที
5.             การพัฒนากลยุทธ์  หมายถึง  กระบวนการกำหนดกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ  ตลอดจนสภาพแวดล้อมของธุรกิจซึ่งเป็นอยู่ในขณะนั้นตลอดจนการปรับปรุงแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลาด้วย
การจัดการ
      สำหรับ องค์การที่มีการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจจะช่วยในด้าน การนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่อบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์การและใช้เป็นเครื่อง มือช่วยจัดการงานด้านต่างๆ
แนวคิดและความหมาย
      สำหรับฟังก์ชันด้านการจัดการ  สามารถจำแนกได้  5  ประการ
1.                การวางแผนเป็นหน้าที่แรกซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำหนดเป้าหมาย  กลยุทธ์  กรอบแนวคิด  กระบวนการ  ตลอดจนการประสานงานในกิจกรรมต่างๆ
2.                การจัดองค์การเป็นการกำหนดกิจกรรมที่ต้องทำบุคลากรผู้รับผิดชอบ  อำนาจหน้าที่  กลุ่มงาน  รวมทั้งสายการบังคับบัญชา
3.                การจัดบุคคลเข้าทำงาน  เป็นการจัดวางบุคคลให้เหมาะสมกับงานทั้งด้านคุณภาพของบุคคลและปริมาณแรงงานที่ต้องการ  ตลอดจนการพัฒนาบุคคลให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
4.                การนำเป็นการสั่งการหรือจูงใจให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันอย่างเต็มความสามารถเพื่อการบรรลุเป้าหมายและประโยชน์สูงสุดขององค์การ
5.                การควบคุมเป็นการกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานงานเพื่อการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน  จากนั้นจึงทำการแก้ไขเพื่อให้สามารถดำเนินการได้บรรลุเป้าหมาย
      ผู้จัดการและผู้บริหาร  คือบุคคลที่ทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยเป็นผู้ประสานงานในการดำเนินกิจกรรมต่างๆระหว่างแผนกงาน  ทีมงานและบุคคลภายนอกองค์การ  โดยทั่วไปแล้ว  มีการจำแนกผู้จัดการและบริหารเป็น  3  ระดับ
1.             ผู้บริหารระดับสูง  คือ  ผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ส่วนบนสุดของโครงสร้าง  โดยรับผิดชอบด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์
2.             ผู้จัดการระดับกลาง  คือ  ผู้ที่ปฏิบัติงานและรับผิดชอบสำหรับงานด้านการจัดการเชิงปฏิบัติการ  โดยจัดทำแผนระยะปานกลาง
3.             ผู้จัดการระดับล่าง  คือ  ผู้ที่ปฏิบัติงานและรับผิดชอบสำหรับงานด้านการจัดการเชิงปฏิบัติการ  โดยจะมีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของบุคคลผู้ปฏิบัติงานในแต่ละส่วนงานให้เป็นไปตามแผนเชิงกลวิธี
บทบาททั่วไปของผู้บริหารและผู้จัดการทั้ง  3  ระดับ
ระดับที่  1 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลซึ่งจำแนกได้  3  บทบาท
1.                การเป็นตัวแทนและภาพลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมขององค์การ
2.                การเป็นผู้นำองค์การกระตุ้นพนักงานให้ร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติหน้าที่
3.                การประสานงานกับบุคคล  หรือกลุ่มบุคคล  เพื่อสร้างความราบรื่นด้านการดำเนินงานขององค์การ
ระดับที่  2 ด้านข้อมูลข่าวสาร  ซึ่งจำแนกได้  3  บทบาท  คือ
1.             การเป็นตัวกลางด้านการไหลเวียนข่าวสารและติดตามตรวจสอบข้อมูล
2.             การเป็นผู้กระจายข่าวสารให้พนักงานรับทราบ
3.             การเป็นโฆษกที่ทำหน้าที่กระจายข่าวสารขององค์การไปสู่ภายนอก
ระดับที่  3ด้านการตัดสินใจซึ่งจำแนกได้  3  บทบาท
1.             การเป็นผู้ประกอบการโดยการคิดค้นและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
2.             การเป็นนักแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปและเป็นคนกลางคอยตัดสินปัญหานั้น
3.             การเป็นผู้จัดสรรทรัพยากรซึ่งมีปริมาณจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การตัดสินใจ
1.              แนวคิดและความหมาย
การตัดสินใจ  คือ  กระบวนการที่ใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดจากการดำเนินการด้านต่างๆของธุรกิจตามลำดับขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่  1 ระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
ขั้นตอนที่  2  เลือกวิธีการแก้ปัญหา
ขั้นตอนที่  3  เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างแบบจำลองการตัดสินใจ
ขั้นตอนที่  4  ระบุทางเลือกที่ได้จากแบบจำลองการตัดสินใจ
ขั้นตอนที่ 5 ประเมินข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือก
ขั้นตอนที่  6  เลือกและปฏิบัติตามแนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
2.             แบบจำลองการตัดสินใจและการแก้ปัญหา   มี  5  ขั้นตอน  ดังนี้
ขั้นตอนที่  1  ขั้นอัจฉริยะ  คือ  ขั้นของจำแนกและนิยามถึงปัญหาและโอกาสทางธุรกิจไว้อย่างชัดเจน
ขั้นตอนที่  2  ขั้นออกแบบ  คือ  ขั้นของการพัฒนาทางเลือกของการแก้ปัญหาที่หลากหลายด้วยวิธีการต่างๆเป็นขั้นการประดิษฐ์
ขั้นตอนที่  3  ขั้นตัวเลือก  คือ  ขั้นของการเลือกชุดปฏิบัติการที่ดีที่สุดโดยใช้เครื่องมือสื่อสาร
ขั้นตอนที่  4  ขั้นทำให้เกิดผล  คือ  ขั้นของการนำชุดปฏิบัติการที่เลือกไว้ในขั้นตัวเลือกไปใช้ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดตามที่คาดไว้ล่วงหน้า
ขั้นตอนที่  5  ขั้นกำกับดูแล  คือ  ขั้น ของการประเมินผลชุดปฏิบัติการที่ถูกนำไปใช้โดยผู้ตัดสินใจและติดตามผลลัพธ์ ของการตัดสินใจว่าสามารถจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
3.             การจำแนกประเภท   โดยจัดแบ่งประเภทของการตัดสินใจของผู้จัดการหรือผู้บริหาร  ทั้ง  3  ระดับ  เป็น  3 ประเภท
3.1         การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง  เป็นการตัดสินใจของปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำ
3.2         การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้างเป็นการตัดสินใจซึ่งเกี่ยวกับเรื่องที่มักใช้กฎเกณฑ์เพียงบางส่วน  การตัดสินใจจึงอาศัยวิจารณญาณเข้าช่วยร่วมกับการใช้สารสนเทศช่วยตัดสินใจซึ่งมักใช้กับการทำงานของผู้จัดการระดับกลางในองค์การ
3.3         การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง  เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก  ไม่เป็นงานประจำ  ไม่มีกรอบการทำงาน  และไม่สามารถสร้างแบบจำลองในการแก้ปัญหาได้
4.             รูปแบบการตัดสินใจ  จะจัดแบ่งการตัดสินใจออกเป็น  2  ระดับ
4.1         ระดับบุคคล  เป็นระดับการตัดสินใจในส่วนการใช้แบบแผนการรับรู้ซึ่งสามารถเลือกแนวทางและการประเมินค่าผลที่ตามมาได้  2  รุปแบบ  ดังนี้
รูปแบบที่  1 การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ  คือ  การใช้วิธีศึกษาปัญหาอย่างมีระเบียบแบบแผน  โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูล  และประเมินค่าข่าวสารตามวิธีการเลือกใช้อย่างเป็นระบบ
รูปแบบที่  2  การตัดสินใจโดยใช้สามัญสำนึก  คือ  การใช้วิธีการลายรูปแบบมาผสมผสานกัน  ตลอดจนใช้วิธีลองผิดลองถูกในการค้นหาทางปฏิบัติโดยไม่มีการประเมินค่าข่าวสารที่รวบรวมได้  ซึ่งการนำไปใช้จะขึ้นกับลักษณะงาน
4.2         ระดับองค์การ  เป็นระดับการตัดสินใจที่ถูกกระทำโดยกลุ่มบุคคลภายในองค์การโดยให้ความสำคัญกับโครงสร้างและนโยบายเป็นสำคัญ  โดยแบ่งรูปแบบการตัดสินใจในระดับนี้เป็น  3 รูปแบบดังนี้
รูปแบบที่1  การตัดสินใจตามรูปแบบราชการ  คือ  รูปแบบที่ใช้ในองค์การที่ปฏิบัติงานมาหลายปีและแบ่งหน่วยงานออกเป็นหลายหน่วยย่อย
รูปแบบที่  2  การตัดสินใจตามรูปแบบการปกครอง  คือ  รูปแบบที่ใช้ในองค์การที่มีการยกอำนาจการปกครองอยู่ในมือบุคคลเพียงไม่กี่บุคคล
รูปแบบที่  3  การตัดสินใจตามรูปแบบขยะ  คือรูแบบการตัดสินใจที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานการใช้เหตุผล  การตัดสินใจมักเกิดขึ้นจากความบังเอิญมากกว่าแต่ผู้แก้ปัญหาจะพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนวิธีการแก้ปัญหาของแต่ละคน
สารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ 
สารสนเทศเพื่อการจัดการมีคุณลักษณะที่ดี  7  ประการ  คือ
1.                สารสนทศที่ช่วยให้ผู้บริหารทราบสถานการณ์ปัจจุบันหรือระดับผลงานที่ทำได้
2.                  สารสนเทศด้านปัญหาจากการดำเนินงานและรายงานด้านโอกาสที่กำลังจะเกิดขึ้น
3.                สารสนทศด้านการเปลี่ยนแปลงที่มักส่งผลให้การดำเนินงานของธุรกิจหยุดชะงัก
4.                สารสนเทศเกี่ยวกับแผนงานหรือโครงการใหม่ที่กำลังจะเริ่มต้นในอนาคตอันใกล้
5.                สารสนเทศที่แจ้งให้ทราบถึงผลดำเนินงานของธุรกิจ  ทั้งในส่วนผลประกอบการ  ส่วนแบ่งตลาดและยอดขายในช่วงฤดูกาลต่างๆรวมทั้งผลดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
6.                สารสนเทศภายนอกเกี่ยวกับข้อคิดเห็น  ข่าวเกี่ยวกับองค์การ  คู่แข่งแลการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการเงิน  การตลาด  เศรษฐกิจและการเมือง
7.                สารสนเทศที่แจกจ่ายออกสู่ภายนอก  เพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นและผู้สื่อข่าวทราบ  เช่น  รายงานารายรับช่วงไตรมาส  หรือรายละเอียดแผนบริการสาธารณชน
จำแนกประเภทของสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ  ออกเป็น  5  ประเภท  ดังนี้
1.                 รายงานตามกำหนดการ  คือ  รายงานที่ผลิตขึ้นตามงวดเวลาหรือตามตารางเวลาที่วางไว้
2.                รายงานตัวชี้วัดหลัก  คือ  รายงานสรุปถึงกิจกรรมวิกฤตของวันก่อนหน้านี้และใช้เป็นแบบฉบับของการเริ่มตนกิจกรรมใหม่  รายงานเหล่านี้จะสรุปถึงระดับสินค้าคงเหลือ  กิจกรรมผลิต  ปริมาณขาย และอื่นๆ โดยมักมีการนำเสนอต่อผู้จัดการและผู้บริหาร  เพื่อการดำเนินการที่รวดเร็วและถูกต้องของธุรกิจ
3.                รายงานตามคำขอ  คือ  รายงานที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำเสนอสารสนเทศตามที่ผู้ใช้ร้องขอหรือ  อีกนัยหนึ่งคือการผลิตรายงานตามความต้องการของผู้ใช้
4.                รายงานตามยกเว้น  คือ รายงานที่มักมีการผลิตขึ้นอย่างอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดกติหรือเกิดความต้องการพิเศษทางการจัดการ
5.                รายงานเจาะลึกในรายละเอียด  คือ รายงานที่ช่วยสนับสนุนรายละเอียดที่เพิ่มขึ้นภายใต้สถานการณ์ การใช้รายงานประเภทนี้นักวิเคราะห์จะมองข้อมูลในภาพรวมก่อน

กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
 มีระบบย่อยที่สัมพันธ์กัน  4  ระบบคือ
1.                ระบบประมวลผลธุรกรรมถูกนำมาประยุกต์ใช้กับระบบงานทั่วไปของธุรกิจ  โดยมุ่งเน้นเป้าหมายด้านการลดต้นทุนและการสร้างวิธีการทำงานประจำอย่างอัตโนมัติ    ระบบประมวลผลธุรกรรมหรือ  ที พีเอส คือ ชุดขององค์ประกอบต่างๆ เช่น บุคลากร กระบวนการ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลและอุปกรณ์ ซึ่งถูกรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบเพื่อนำมาใช้บันทึกรายการเปลี่ยนแปลงทาง ธุรกิจอย่างสมบูรณ์แบบ  การสร้างความเข้าใจถึง ทีพีเอส จำเป็นต้องเข้าใจพื้นฐานการดำเนินงานตลอดจนหน้าที่ทางธุรกิจ
2.                ระบบ สารสนเทศเพื่อการจัดการหรือ เอ็มไอเอส หมายถึง ระบบที่ใช้สนับสนุนการทำงานของผู้จัดการระดับล่าง และระดับกลางเพื่อการนำเสนอรายงาน ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเฉพาะด้านและข้อมูลในอดีตซึ่งมุ่งเน้นที่การตอบสนองความต้องการของ บุคลากรภายในองค์การ เอ็มไอเอส เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความได้เปรียบเชิงการแก่องค์การโดยการสนับสนุน ด้านสารสนเทศทีถูกต้องต่อบุคคลที่ถูกต้อง ใช้รูปแบบการนำเสนอที่ถูกต้องละถูกเวลาโดยจุดมุ่งหมายของระบบ คือ ให้การสนับสนุนด้านการบรรลุเป้าหมายของการบริหารงานในองค์การ
3.                ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  จำแนกเป็น 5 หัวข้อย่อยดังนี้
3.1      แนวคิดและความหมาย  ระบบ สนับสนุนการตัดสินใจ หรือ ดีเอสเอส คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้สนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่อง โดยจุดมุ่งหมายก็คือ การตัดสินใจอย่างมีประสิทธิผล โดยเอ็มไอเอสจะให้การสนับสนุนองค์การทำสิ่งต่างๆให้ถูกต้อง  ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ หรือ ดีเอสเอส   หมาย ถึงระบบสารสนเทศบนพื้นฐานของการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมตัวแบบและข้อมูลเข้าด้วยกันเพื่อแก้ปัญหากึ่งโครงสร้าง และปัญหาไม่มีโครงสร้างซึ่งมักครอบคลุมการตัดสินใจของผู้ใช้และเป็นระบบที่ แสดงถึงแนวโน้มหรือปรัชญามากกว่าหลักการที่ถูกต้องแม่นยำ
3.2      สมรรถภาพของระบบ สมรรถภาพโดยรวมของระบบ มีดังนี้
1.                สามารถใช้ดีเอสเอสได้ในทุกระดับชั้นของผู้บริหารไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ตาม
2.                สามารถใช้ดีเอสเอส ทั้งในส่วนการตัดสินใจเชิงสัมพันธ์และเชิงลำดับชั้น
3.                สาม รถใช้ดีเอสเอสได้ทุกระยะของกระบวนการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นขั้นอัจฉริยะ ขั้นออกแบบ ขั้นตัวเลือก ขั้นทำให้เกิดผลและขั้นกำกับดูแล อีกทั้งสามารถใช้ได้กับทุกๆรูปแบบการตัดสินใจ
4.                ผู้ใช้สามารถรับระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานภายใต้เวลา และสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงขณะ
5.                ระบบที่ใช้มักง่ายต่อการสร้างและสามารถใช้ได้สำหรับหลายกรณี
6.                ระบบ ที่ใช้จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้เพิ่มเติมในอนาคต อันเป็นหนทางที่จะนำไปสู่คำขอใหม่ๆและการกลั่นกรองระบบประยุกต์ที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบัน
7.                ระบบที่ใช้ประกอบด้วยตัวแบบเชิงปริมาณที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูล
8.                ระบบ ดีเอสเอสชั้นสูงมักจะถูกใช้เป็นเครื่องมือภายใต้การจัดการความรู้โดยสนับ สนุนการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมาๆอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
9.                ระบบ อาจถูกใช้สนับสนุนการปฏิบัติการ ด้านการวิเคราะห์ความไว ซึ่งมีการใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์และตัวแบบอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่ม สมรรถภาพพิเศษในการใช้งาน
3.3      ลักษณะเฉพาะของระบบ หลักเกณฑ์พิเศษซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของดีเอสเอส มี 3 ข้อ คือ
3.3.1                   การ วิเคราะห์ความไว คือ การศึกษาผลกระทบของการใช้ตัวแบบในส่วนต่างๆของระบบ ที่สามารถตรวจสอบผลกระทบด้านการเปลี่ยนแลงของตัวแปรนำเข้าที่มีต่อตัวแปร ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของการตัดสินใจ
3.3.2                   การค้นหาเป้าหมาย คือ กระบวนการกำหนดข้อมูลที่เป็นปัญหาซึ่งต้องการคำตนอบของการแก้ปัญหานั้น
3.3.3                   การจำลอง เป็นความสามารถหนึ่งของดีเอสเอส โดยทำการสำเนาลักษณะของระบบจริง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความเป็นไปได้หรือความไม่แน่นอนรวมอยู่ด้วย
3.4      โครงสร้างและส่วนประกอบของระบบ ส่วนประกอบของดีเอสเอสอย่างน้อยที่สุด  ควร จะต้องประกอบด้วย ระบบการจัดข้อมูล ระบบจัดการตัวแบบ ส่วนต่อระสานกับผู้ใช้และผู้ใช้ขั้นปลาย ในส่วนดีเอสเอสชั้นสูงจะประกอบด้วยระบบการจัดความรู้  อธิบายได้ดังนี้
3.4.1                   ระบบ จัดการข้อมูลในส่วนการจัดการข้อมูลของดีเอสเอส จะคล้ายคลึงกับระบบอื่นๆซึ่งบรรจุข้อมูลที่ไหลเวียนจากหลายแหล่งและถูกนำ มาสกัดเป็นข้อมูลเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูลของดีเอสเอส
3.4.2                   ระบบ การจัดการตัวแบบ ซึ่งบรรจุตัวแบบที่สมบูรณ์ในฐานตัวแบบและมีการสร้างแม่พิมพ์ตัวแบบที่จำเป็น ต่อการใช้งานของระบบ โดยมักใช้ตัวแบบเชิงปริมาณสำหรับซอฟต์แวร์มาตรฐานด้านการเงิน สถิติ และวิทยาการจัดการ
3.4.3                   ส่วน ต่อประสานกับผู้ใช้ จะครอบคลุมถึงการสื่อสารระหว่างผู้ใช้ระบบในบางระบบที่ถูกพัฒนาอย่างชำนาญ การ ส่วนต่อประสานของระบบนั้นจะถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของดีเอสเอส อันเนื่องมาจากความยืดหยุ่นและเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้ใช้งานง่าย
3.4.4                   ผู้ ใช้ขั้นปลาย คือ บุคคลซึ่งเผชิญหน้ากับปัญหาหรือการตัดสินใจ ซึ่งก็คือผู้จัดการหรือผู้ตัดสินใจ โดยมีการพิจารณาผู้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ
3.4.5                   ระบบ จัดการความรู้ ใช้สำหรับการแก้ปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างที่ล้วนแต่มีความซับ ซ้อน ซึ่งต้องการความรู้ความชำนาญมาช่วยหาคำตอบของปัญหาเหล่านั้น
3.5      กระบวน การทำงาน ส่วนปรกอบของดีเอสเอส คือ ซอฟต์แวร์ทั้งหมด ที่ทำงานบนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์มาตรฐาน และสามารถเพิ่มเติมซอฟต์แวร์ในส่วนสนับสนุนการใช้งาน
ระบบสนับสนุนผู้บริหาร
เนื่อง ด้วยผู้บริหารระดับกรรมการบริษัท มักจะต้องการรายงานพิเศษ เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์หลายๆบริษัท จึงได้มีการพัฒนาระบบช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารโดยการพัฒนาระบบ สนับสนุนผู้บริหาร  ระบบสนับสนุน ผู้บริหาร หรืออีเอสเอส ในบางครั้งอาจเรียกว่าระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ ระบบซึ่งประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล กระบวนคำสั่ง และบุคลากร  ที่ใช้สนับสนุนงานด้านการตัดสินใจของผู้บริหารระดับอาวุโสหรือคณะกรรมการบริษัทที่รับผิดชอบต่อส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้น  ช่วยผู้บริหารติดตามความก้าวหน้าของบริษัท มีระบบ 3 ระบบดังนี้
4.1      วิสัย ทัศน์ อีเอสเอส คือ รูปแบบพิเศษของระบบที่ใช้เพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ของผู้ บริหารระดับสูง ซึ่งมีความแตกต่างจากดีเอสเอสในด้านการใช้งาน โดย ดีเอสเอส มักถูกใช้เพื่อสนับสนุนการจำลองที่หลากหลายรูปแบบ
4.2      คุณลักษณะ อีเอสเอสมักจะประกอบด้วยคุณลักษณะทั่วไปดังนี้
1.                เป็น ระบบเชิงโต้ตอบซึ่งถูกสั่งทำโดยผู้บริหารรายบุคคล โดยส่งมอบเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารเล็งเห็นส่วนรวม กลั่นกรองและจัดโครงสร้างข้อมูลและสารสนเทศ
2.                เป็นระบบที่ไม่ซับซ้อนง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
3.                เป็นระบบที่มีความสามารถเจาะลึกในรายละเอียดของข้อมูล
4.                เป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการข้อมูลภายนอกองค์การ มีคุณค่าต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ โดยทำการคัดเลือกประโยชน์ต่อการตัดสินใจออกมา
5.                เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจภายใต้สภาวการณ์ที่ไม่แน่นอน และยังเป็นเครื่องมือช่วยวัดความเสี่ยงสำหรับการตัดสินใจ
6.                เป็นระบบที่ใช้กำหนดทิศทางในอนาคตขององค์การ และผลลัพธ์ของการตัดสินใจครั้งหนึ่งจะมีผลกระทบต่อผลการดำเนินการเป็นระยะเวลาหลายปี
7.                เป็น ระบบที่ถูกเชื่อมโยงด้วยมูลค่าเพิ่มของกระบวนการทางธุรกิจ เช่น การนำอีเอสเอสมาใช้ในบริษัทรถยนต์เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเช่ารถยนต์ใน อนาคต
4.3      สมรรถภาพของระบบ  ผู้บริหารจำเป็นต้องใช้อีเอสเอสที่มีสรรถภาพ ดังนี้
4.3.1                   การสนับสนุนด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ ซึ่งเป็นงานหลักที่สำคัญของผู้บริหารระดับสูง
4.3.2                   การสนับสนุนด้านการวางแผนกลยุทธ์ โดยเป็นเครื่องมือช่วยกำหนดวัตถุประสงค์ระยะยาว วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ
4.3.3                   การ สนับสนุนด้านการจัดองค์การและการจัดคนเข้าทำงาน โดยใช้วิเคราะห์ผลกระทบต่อการตัดสินใจด้านการจัดคนเข้าทำงาน การยกระดับการจ่ายเงินเดือน
4.3.4                   การ สนับสนุนด้านการควบคุมกลยุทธ์ซึ่งเป็นเครื่องมือด้านการติดตาม ดูแลการดำเนินงานในภาพรวมขององค์การ การแสวงหาเป้าหมาย การจัดสรรทรัพยากร รวมทั้งการควบคุมทิศทางการดำเนินงานขององค์การ
4.3.5                   การ สนับสนุนด้านการจัดการเชิงวิกฤต โดยองค์การอาจต้องเผชิญกับวิกฤตต่างๆ อีเอสเอสจะช่วยจัดทำแผนฉุกเฉินซึ่งช่วยฟื้นฟูองค์การในสภาวะวิกฤต
เทคโนโลยีทางการจัดการ
1.             ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม  การ ทำงานในองค์การจำเป็นต้องมีการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่มร่วมงานบ่อยครั้ง และสำหรับองค์การที่มีการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์สนับสนุนการตัดสินใจ ที่จัดอยู่ในรูปแบบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มหรือจีดีเอสเอส โดยจัดแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 เมื่อสมาชิกของกลุ่มตัดสินใจอยู่ในที่เดียวกัน และแบบที่ 2 เมื่อสมาชิกของกลุ่มตัดสินใจอยู่ต่างสถานที่กัน ซึ่งรูปแบบนี้เรียกว่า กลุ่มเสมือน
ระบบ สนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม คือ ระบบพื้นฐานของการใช้คอมพิวเตอร์เชิงโต้ตอบ ที่อำนวยความสะดวกด้านการค้นหาคำตอบของปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
     คุณลักษณะสำคัญของจีดีเอสเอส ซึ่งจะนำมาลบล้างการปฏิบัติหน้าที่ของกลุ่มร่วมงานที่มักเกิดความขัดแย้งของกระบวนการกลุ่มดังนี้
1.                การ ไม่ระบุชื่อผู้นำเข้า โปรแกรมจีดีเอสเอส ส่วนใหญ่มักเปิดโอกาสให้มีการนำเข้าข้อมูลเพื่อโต้ตอบการประชุม โดยไม่ต้องระบุชื่อผู้นำเข้า
2.                การ ลดพฤติกรรมกลุ่มด้านการคัดค้าน การที่โปรแกรมจีดีเอสเอสเปิดโอกาสให้คีย์ข้อมูลเข้าเพียงครั้งเดียว จะช่วยให้สามารถกำจัดพฤติกรรมกลุ่มที่ส่งผลเสียต่อการตัดสินใจ สำหรับบางกลุ่มร่วมงานที่ต้องตัดสินใจร่วมกัน อำนาจที่ครอบงำส่วนบุคคลสามารถควบคุมผลลัพธ์ที่ได้จากการตัดสินใจให้เป็นไป ตามที่ตนต้องการ
3.                การ สื่อสารทางขนาน ตามวัฒนธรรมการประชุมแบบเดิม บุคคลจะต้องเปลี่ยนหัวข้อประชุมตามรายงานการประชุม โดยมีการพูดของบุคคลเดียวภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากใช้โปรแกรมจีดีเอสเอสสำหรับการจัดการประชุม สมาชิกทุกๆคนจะสามารถออกความคิดเห็นในเวลาเดียวกัน
    การใช้ระบบสนับสนุนด้านเครือข่าย จึงก่อเกิดการประชุม 3 รูปแบบใหม่ ดังนี้
1.                เครือข่ายตัดสินใจเฉพาะที่ จะสามารถใช้รูปแบบนี้ในกรณีที่ผู้ตัดสินใจอยู่ภายใต้อาคารเดียวกัน  หรืออยู่ในพื้นที่ภูมิศาสตร์เดียวกัน อีกทั้งยังมีความถี่ของการตัดสินใจบ่อยครั้ง
2.                การ ประชุมทางไกล มักจะถูกใช้เมื่อความถี่ของการตัดสินใจต่ำ และสมาชิกของการตัดสินใจอยู่ห่างไกลกันคนละพื้นที่ระยะทางและโอกาสของการ จัดการประชุม
3.                เครือ ข่ายตัดสินใจบริเวรกว้าง มักใช้สำหรับกรณีที่มีความถี่ของการตัดสินใจสูงและแหล่งที่อยู่ของสมาชิก อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งกรณีนี้ผู้ตัดสินใจอาจต้องการใช้ระบบบ่อยครั้งและอยู่คนละสถานที่ทั่ว ประเทศหรือทั่วโลก
2.             ห้อง ตัดสินใจ เป็นสถาการณ์ในอุดมคติ ซึ่งถูกติดตั้งในอาคารเดียวกันกับผู้ตัดสินใจหรือในพื้นที่ภูมิศาสตร์เดียว กัน และผู้ตัดสินใจ คือผู้ใช้เฉพาะกาลของจีดีเอสเอส ในกรณีนี้ห้องตัดสินใจหรืออุปกรณือำนวยความสะดวกจะถูกติดตั้งให้เหมาะสมภาย ใต้ระบบกลุ่มงาน
3.             ปัญญา ประดิษฐ์ ระบบที่ตั้งอยู่พื้นฐานด้านความคิดปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นระบบลอกเลียนแบบคุณลักษณะอันชาญฉลาดของมนุษย์ ปัญญาประดิษฐ์จะประกอบไปด้วยสาขาย่อยที่หลากหลายสาขา เช่น วิทยาการหุ่นยนต์ ระบบภาพ การประมวลภาษาธรรมชาติ
4.             ระบบ ผู้เชี่ยวชาญ คือ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่สามารถแนะนำและกระทำดังเช่นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขานั้นๆ มูลค่าพิเศษของระบบผู้เชี่ยวชาญ คือ การให้เครื่องมือในการจับและใช้ความรอบรู้ของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้เชี่ยวชาญ พิเศษ
5.             ความเป็นจริงเสมือน คือ การจำลองความจริงและสภาพแวดล้อมที่ถูกคาดการณ์ขึ้นด้วยแบบจำลอง 3 มิติ



โลกเสมือน คือ การแสดงระดับเต็มที่สัมพันธ์กับขนาดของมนุษย์  โดยการติดตั้งรูปแบบ 3 มิติ ความจริงหรือนามธรรม  สำหรับอุปกรณ์รับเข้าของความเป็นจริงเสมือนที่หลากหลาย เช่น จอภาพศีรษะ ถุงมือข้อมูล  ก้านข้อมูล  และคทามือถือ  ความเป็นจริงเสมือนสามารถใช้อ้างอิงถึงระบบกึ่งประยุกต์ เช่น การใช้เมาส์เพื่อควบคุมการนำทางผ่านสิ่งแวดล้อม 3 มิติบนจอภาพกราฟิก



(  เอกสารอ้างอิง    รุจิจันทร์    พิริยะสงวนพงศ์.  สารสนเทศทางธุรกิจ.  )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น