วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 5 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์

สรุปบทที่  5  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
    ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์    หมายถึง  ระบบที่ใช้สนับสนุนการทำงานภายใต้กิจกรรมด้านต่างๆของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
   การบริหารงานบุคคลและการบริหารทรัพยากรมนุษย์  หมายถึง  กระบวนการในการสรรหา  คัดเลือกและบรรจุบุคคลที่เหมาะสมเข้าทำงานในองค์การในจำนวนที่เพียงพอและเหมาะสม รวมทั้งการบำรุงรักษา
องค์ประกอบของการบริหารทรัพยากรมนุษย์  มี 3 องค์ประกอบคือ
1.             บริหาร คือ ลูกจ้าง ผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการจัดสรรทรัพยากรที่ใช้ภายในองค์การ ทั้งในส่วนของทรัพยากรมนุษย์  เงินและทรัพย์สินต่างๆ โดยแบ่งระดับของผู้บริหารออกเป็น  3 ระดับ คือ ผู้บริหารระดับสูง  ผู้บริหารระดับกลาง  และผู้จัดการระดับล่าง
2.             การบริหาร ซึ่งถือเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ผสมผสานกันระหว่างความรู้และประสบการณ์โดยกำหนดหน้าที่ของการบริหาร 5 ประการ คือ  การวางแผน  การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทำงาน  การอำนวยการ และการควบคุม
3.             ทรัพยากร มนุษย์เป็นปัจจัยหนึ่งในหลายปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของ องค์การอีกทั้งช่วยสร้างภาพพจน์ในองค์การในฐานะผู้สร้างสรรค์ผลผลิตและการ บริการออกสู่ประชาชน
หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์
   ธุรกิจจะยึดถือหลักการของ 2 ระบบ คือ  ระบบอุปถัมภ์  และ ระบบคุณธรรม แต่การดำเนินธุรกิจด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบันระบบคุณธรรมเป็น พื้นฐานในทุกขั้นตอนของกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีหลักการ4 ข้อ ดังนี้
1.                หลักความรู้ ทุกคนที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ขององค์การจะต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
2.                หลักความสามารถ บุคคลทุกคนล้วนมีคุณค่าต่อองค์การเสมอ  แต่หากบุคคลใดที่ความสามารถสร้างผลงานที่มีมูลค่าสูงสุด  บุคคลนั้นจะมีคุณค่าสูงสุดด้วย
3.                หลักความมั่นคง เป็นหน้าที่ขององค์การที่จะต้องทำให้บุคคลเป็นผู้มีความมั่นคงในอาชีพ
4.                หลัก ความเป็นกลางทางการเมือง ในบางครั้งที่องค์การมีผู้มีอิทธิพลและมีผู้มีตำแหน่งหน้าที่สูงกว่าผู้อื่น หรืออาศัยความเป็นเครือญาติเป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าใน หน้าที่การงาน
จากหลักการทั้ง 4 ข้อนี้  ส่งผลให้องค์การเกิดภารกิจด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
1.                การสรรหา คือ  การเสาะแสวงหาบุคคลผู้มีความรู้ และความสามารถที่เหมาะสมกับงาน  สามารถปรับตนเองให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์การ
2.                การพัฒนา คือ การดำเนินการใดๆเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถ ทัศนคติ และประสบการณ์เพิ่มขึ้น
3.                การธำรงรักษา  คือ ความพยายามขององค์การที่จะทำให้บุคลากรมีความพึงพอใจในการทำงาน  ตลอดจนมีการสร้างบรรยากาศให้บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
4.                การใช้ประโยชน์  คือ การใช้บุคคลให้เหมาะสมกับงานเพื่อให้องค์กรได้รับผลประโยชน์อย่างสูงสุด
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผลประโยชน์ซึ่งคาดว่าองค์การและบุคคลที่เกี่ยวข้องจะได้รับมีดังนี้
1.                ผู้บริหารสามารถเพิ่มขีดความสามารถด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
2.                ผู้บริหารสามารถจัดสรรบุคคลให้เหมาะสมกับงานตลอดจนการสร้างระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดี แลมีประสิทธิภาพ
3.                บุคลากรจะได้รับการพัฒนาตนเองทั้งในส่วนความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ทำงาน ตลอดจนมีความก้าวหน้าในอาชีพ
4.                บุคลากรทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ และมีความพอใจกับผลงานที่ได้รับ  จึงมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน
5.                บุคลากรจะได้รับการปรับปรุงคุณภาพชีวิต  และมีสภาพการทำงานที่ดีขึ้น
6.                องค์กรบรรลุเป้าหมายในการทำงานและดำเนินงานได้อย่างเต็มที่
7.                องค์กรมีโอกาสที่จะพัฒนาความร่วมมือและร่วมใจการทำงาน
8.                สังคมอยู่ได้อย่างสันติสุข  เนื่องจากบุคคลในสังคมมีรายได้จากการทำงาน
9.                ประเทศชาติมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เพราะองค์การเติบโตอย่างมั่นคง
       สารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์   หมายถึง  สารสนเทศ ที่ได้จากการประมวลผลของสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ซึ่งมักจะเกิด ขึ้นซ้ำๆกันเป็นวัฏจักรเริ่มตั้งแต่มีการสรรหาและว่าจ้างบุคลากรเข้าทำงาน จนกระทั่งบุคคลผู้นั้นพ้นสภาพจากการเป็นบุคลากรของบริษัทไป
    การจำแนกประเภทของสารสนเทศ  
สารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์  สามารถจำแนกได้เป็น  3  ประเภท  ตามระดับของการบริหารงานขององค์การ ดังนี้
1.                สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการปฏิบัติงานด้านต่างๆของการบริหารทรัพยากรมนุษย์  และมีการนำเสนอต่อผู้บริหารระดับล่าง ดังนี้
1.1       สารสนเทศด้านการคัดเลือก คือ สารสนเทศที่ประกอบด้วย ผลการสัมภาษณ์ผู้สมัครงาน  รายชื่อผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกและจดหมายแจ้งผลการสัมภาษณ์
1.2       สารสนเทศด้านการบรรจุเข้ารับตำแหน่งงาน  คือ สารสนเทศที่ประกอบด้วย  สถิติการเข้ามอบตัวของผู้ผ่านการคัดเลือก  คำสั่งบรรจุและแต่งตั้งบุคลากรที่อาจจัดเก็บอยู่ในระบบประมวลภาพให้ผู้ใช้สืบค้นได้ตามที่ต้องการ
1.3       สารสนเทศด้านประวัติบุคลากร  คือ สารสนเทศที่ประกอบด้วยประวัติส่วนตัวของบุคลากรและประวัติการทำงาน  ข้อมูลทักษะความชำนาญงานของบุคลากรรายบุคคล  ตลอดจนประวัติการโยกย้ายและการเลื่อนตำแหน่ง
1.4       สารสนเทศด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน  คือ สารสนเทศที่ประกอบด้วยข้อมูลผลงานและผลการปฏิบัติงานของบุคลากรรายบุคคล  ตลอดจนวิธีการใช้ในการวัดและประเมินผลด้วย
1.5       สารสนเทศด้านการจ่ายเงินเดือน  คือ สารสนเทศที่ประกอบด้วยโครงสร้างเงินเดือน  อัตราเงินเดือนของแต่ละบุคคล  อัตราภาษีเงินได้  ข้อมูลค่าลดหย่อนส่วนบุคคล  รวมทั้งราได้หลังหักภาษีของแต่ละบุคคล
2.                สารสนเทศเชิงกลวิธี  คือ  สารสนเทศที่ได้รับจากการบริหารในด้านต่างๆของการบริหารทรัพยากรมนุษย์และมีการนำเสนอต่อผู้บริหารระดับกลาง ดังนี้
2.1       สารสนเทศด้านการสรรหา  คือ  สารสนเทศที่ประกอบด้วยแหล่งจัดหาแรงงาน  ประวัติและคุณสมบัติของผู้สมัครงาน
2.2       สารสนเทศด้านการวิเคราะห์งาน  คือ  สารสนเทศที่ประกอบด้วยคำพรรณนาแลคุณลักษณะเฉพาะของงาน ที่ใช้อธิบายถึงทักษะ ความรู้ ประสบการณ์
2.3       สารสนเทศด้านการควบคุมตำแหน่ง  คือ  สารสนเทศที่ประกอบด้วยโครงสร้างตำแหน่งงาน
2.4       สารสนเทศด้านการสวัสดิการและผลประโยชน์  คือ สารสนเทศที่ประกอบด้วยรายงานค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าสวัสดิการ  ค่าตอบแทนและเงินชดเชย  รายงานการใช้สิทธิ
2.5       สารสนเทศด้านการพัฒนาและฝึกอบรม  คือ  สารสนเทศที่ประกอบด้วยแผนการฝึกอบรม  รายชื่อหลักสูตร รายชื่อวิทยากร
3.                สารสนเทศเชิงกลยุทธ์  คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการวางแผนงานของผู้บริหารระดับสูงอีกทั้งมีการกำหนดเป้าหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในระยะยาว  โดยจำแนกประเภทของสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ได้เป็น  2 ประเภท คือ
3.1       สารสนเทศด้านการวางแผนอัตรากำลัง  ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
3.2       สารสนเทศด้านการเจรจาต่อรอง  ถือเป็นภาระงานหนึ่งของผู้บริหารระดับสูง
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ  จำแนกระบบย่อยได้  8 ระบบ ดังนี้
1.                ระบบวางแผนอัตรากำลังคน  ถูกใช้เป็นเครื่องมือกำหนดความต้องการบุคลากรขององค์การ  ในส่วนอัตรากำลังคน  และคุณสมบัติของบุคลากรที่ตรงกับความต้องการของแต่ละงาน
2.                ระบบวิเคราะห์งาน  จะครอบคลุมถึงกระบวนการด้านการวิเคราะห์งาน และการควบคุมตำแหน่งงาน  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องมาจากกิจกรรมของการวางแผนอัตรากำลังคนซึ่งจำเป็นต้องใช้สารสนเทศจากภายนอกส่วนหนึ่ง
3.                ระบบการสรรหาและคัดเลือก  จะครอบคลุมถึงกระบวนการด้านการสรรหาและคัดเลือก ก่อนที่จะบรรจุเข้าทำงาน  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการวิเคราะห์งานและการควบคุมตำแหน่ง
4.                ระบบบุคลากร  จะครอบคลุมถึงกระบวนการด้านการบรรจุเข้าทำงาน  การลงทะเบียนประวัติบุคลากร  แลการบันทึกเวลาเข้าออก  ซึ่งสารสนเทศที่ได้จากระบบบุคลากร  จำเป็นต้องใช้ตลอดอายุการทำงานของบุคลากรแต่ละคน
5.                ระบบค่าจ้างและเงินเดือน  จะครอบคลุมถึงกระบวนการด้านการจ่ายค่าจ้างและเงินเดือน รวมทั้งการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  โดย ที่ระบบจ่ายค่าจ้างและเงินเดือนของแต่ละองค์การอาจแตกต่างกันไป และเงื่อนไขในการคิดคำนวณรายได้สุทธิเพื่อนำมาคำนวณเงินเดือนจ่ายบุคลากรก็ อาจแตกต่างกันไปแล้วแต่นโยบายด้านการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนของแต่ละองค์การ
6.                ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน  จะครอบคลุมถึงกระบวนการด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และการรับเงินเดือนในขั้นพื้นฐาน  ตลอดจนนำสารสนเทศที่ได้มาเป็นข้อมูลนำเข้าของการพัฒนาและฝึกอบรม  การเลื่อนชั้นตำแหน่ง  หรือแม้กระทั่งการโยกย้ายงานไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอื่น
7.                การพัฒนาและฝึกอบรม   ในส่วนนี้จะครอบคลุมถึงกระบวนการในส่วนการจัดทำแผนการพัฒนาและฝึกอบรมรวมทั้งการดำเนินการฝึกอบรมบุคลากร  โดย จะถือเป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องพัฒนาและ ฝึกอบรมบุคลากรให้เป็นผู้มีความรู้และความสามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ
8.                ระบบสวัสดิการและผลประโยชน์  จะครอบคลุมถึงกระบวนการวางแผนด้านผลประโยชน์ของบุคลากร  และการจ่ายค่าสวัสดิการบุคลากร  ตลอดจนผลประโยชน์อื่น  ซึ่งนอกเหนือจากค่าจ้างแรงงาน  เพื่อเป็นการธำรงรักษาบุคลากรให้มีขวัญและกำลังใจในการทำงาน
เทคโนโลยีทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์  แบ่งเป็น 3 หัวข้อย่อย คือ
1.                โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์  คือ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งที่วางขายอยู่ในตลาดซอฟต์แวร์ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์   โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์มี  3 ประเภท  ดังนี้
1.1      โปรแกรมบันทึกเวลาการทำงาน  จะ ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของฮาร์ดแวร์ละซอฟต์แวร์ระบบการบันทึกเวลาการทำงาน เพื่อจัดการดูแลการปฏิบัติงานของบุคลากรตามหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมาย
1.2      โปรแกรมการจ่ายเงินเดือน  มักจะเป็นการรวมสามมอดูลเข้าด้วยกันอันได้แก่  มอดูลบุคลากร  มอดูลการลางานและมอดูลการจ่ายเงินเดือน
1.3      โปรแกรมการบริหารทุนด้านมนุษย์  ขอบกตัวอย่างโปรแกรมพีเพิลซอฟต์ เอ็นเตอร์ไพรส์  ของ บริษัท ออราเคิล จำกัด  ที่พัฒนาโปรแกรมบริหารทุนด้านมนุษย์  โดยนำแบบฉบับของวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
2.                การใช้อินทราเน็ต   อินทราเน็ต  คือ  ระบบเครือข่ายที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะภายในองค์การ  การพัฒนาอินทราเน็ตจะตั้งอยู่บนพ้นฐานของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อินเตอร์เน็ต และเวิล์ดไวด์เว็บ   นอกจากนี้อินทราเน็ตยังเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ทรงพลังอำนาจด้านการสื่อสารภายในองค์การ  การใช้อินทราเน็ตสามารถลดปริมาณกระดาษลงอย่างเห็นได้ชัด  เนื่องจากข้อมูลและสารสนเทศต่างๆจะถูกแสดงบนน้าจอคอมพิวเตอร์
3.                การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางอิเล็กทรอนิกส์  จำเป็นต้องสื่อสารกับบุคคลภายนอกด้วย เช่น ผู้สมัครงาน  สถาบันการศึกษา    อินเตอร์เน็ต  คือ เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการสื่อสารและการประสานงานระหว่างบุคคลภายในและภายนอกองค์การ  โดยมีการพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บเพื่อรองรับกระบวนการทำงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางอิเล็กทรอนิกส์  โดยเฉพาะเว็บศูนย์รวมด้านทรัพยากรมนุษย์ที่ใช้เป็นแหล่งประชาสัมพันธ์การสมัครงาน บริการว่าจ้างงานออนไลน์  รายละเอียดของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางอิเล็กทรอนิกส์มีหัวข้อย่อย คือ
3.1      การจัดองค์การเสมือน คือ รูปแบบองค์การที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพทันสมัย
3.2      การสรรหาอิเล็กทรอนิกส์ คือ กระบวนการเสาะหา ทดสอบ และตัดสินใจสำหรับการว่าจ้างงานขององค์การผ่านเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต  ที่สามารถใช้โปรแกรมค้นหา ใบประวัติส่วนตัว  ประสบการณ์ การศึกษาและการทำงาน ซึ่งมีอยู่จำนวนมากบนเว็บไซต์และทำการคัดเลือกผู้สมัคร ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับความต้องการของตำแหน่งงาน
3.3      เว็บศูนย์รวมด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ข้อ ได้เปรียบหนึ่งของเว็บศูนย์รวมหรือเว็บท่า คือ มีสารสนเทศจำนวนมากที่สามารถนำมาใช้เป็นข้อเปรียบเทียบด้านการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ทั้งในรูปแบบของเว็บศูนย์รวมที่เป็นส่วนตัวขององค์การใด องค์การหนึ่ง และเว็บศูนย์รวมสาธารณะ  ซึ่งประกอบด้วยการใช้เครื่องมือต่างๆ
3.4      การประเมินผลการปฏิบัติงานทางอิเล็กทรอนิกส์  เจ้าหน้าที่ควบคุมงานมีหน้าที่ประเมินผลผู้ใต้บังคับบัญชาโดยบันทึกผลการประเมินลงบนแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์  สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลจะสามารถใช้ในงานด้านการตัดสินใจ
3.5      การ เรียนอิเล็กทรอนิกส์ คือ เทคโนโลยีหนึ่งที่นำมาใช้ในงานด้านการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร ซึ่งในเริ่มแรกจะต้องมีการวางแผนชั้นเรียนและพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมตามความ ต้องการขององค์การและบุคลากรในองค์การ โดยระบบที่ทันสมัยอาจมีการสร้างแผนการพัฒนาบุคลากรรายบุคคล  การ เรียนอิเล็กทรอนิกส์จึงถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้รายบุคคลซึ่งถูกนำ มาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่ออธิบายคำสอนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล  โดยรูปแบบของการเรียนอิเล็กทรอนิกส์จะมี  2 รูปแบบ  คือ
1.                การสื่อสารแบบประสานเวลา โดยผู้เรียนและผู้สอนจะอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันของการสอนและสามารถโต้ตอบกันได้
2.                การสื่อสารแบบไม่ประสานเวลา   ผู้สอนและผู้เรียนจะไม่สามารถโต้ตอบกันได้ภายในเวลาหรือสถานที่เดียวกัน



(  เอกสารอ้างอิง    รุจิจันทร์    พิริยะสงวนพงศ์.  สารสนเทศทางธุรกิจ.  )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น